การวิเคราะห์อะมิโนบิวทานอลที่ปนเปื้อนในเอเทมบูทอลไฮโดรคลอไรด์โดยวัดการดูดกลืนแสง

โดย: มณฑิตา อุไรโรจน์, นวพร เชวงชินวงศ์    ปีการศึกษา: 2551    กลุ่มที่: 14

อาจารย์ที่ปรึกษา:    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชเคมี

Keyword: ค่าการดูดกลืนแสง, ค่าความสัมพันธ์เป็นเส้นตรงอยู่ในช่วงความเข้มข้น, ค่าความแม่นยำ, ค่าความถูกต้อง, Absorbance, Linearity, range, Precision, Accracy
บทคัดย่อ:
อะมิโนบิวทานอลเป็นสารปนเปื้อนที่อยู่ในเอเทมบูทอล จากโครงสร้างทางเคมีของสารทั้งสองไม่มีโครงสร้างที่ดูดกลืนแสง มีรายงานว่าทั้งอะมิโนบิวทานอลและเอเทมบิวทอลสามารถทำปฏิกิริยากับโลหะ เกิดสารประกอบเชิงซ้อนที่ให้การดูดกลืนแสงได้ โครงการพิเศษนี้จึงพัฒนาการวิเคราะห์อะมิโนบูทานอลโดยใช้การเกิดสารประกอบเชิงซ้อนกับโลหะซึ่งดูดกลืนแสง และวัดการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่นที่เหมาะสม จากการศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมในการเกิดสารประกอบเชิงซ้อนของอะมิโนบิวทานอลกับโลหะต่างๆ พบว่าอะมิโนบิวทานอลสามารถเกิดสารประกอบเชิงซ้อนได้กับโลหะทองแดงและสังกะสีในสารละลายโซเดียมโพแทสเซียมทาร์เทรต ด้วยอัตราส่วน 1:1 และสภาวะที่เหมาะสมในการเกิดสารประกอบเชิงซ้อนได้ดีคือ pH 8 ให้การดูดกลืนรังสีอัลตร้าไวโอเลตที่ความยาวคลื่น 214 และ 209 นาโนเมตร และค่า molar absorptivity เท่ากับ 9.19x10^2 และ 1.94x10^2 ตามลำดับ เมื่อทำการประเมินวิธีวิเคราะห์ พบว่าวิธีการเกิดสารประกอบเชิงซ้อนกับทองแดง มีความสัมพันธ์ของความเข้มข้นและค่าการดูดกลืนแสงเป็นเส้นตรงในช่วงความเข้มข้น 0.085 - 7.07 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.9907 ค่าความแม่นยำ(ค่าการเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์อยู่ในช่วงร้อยละ 0.57-1.16) และค่าความถูกค้อง (ค่ากลับคืนเฉลี่ยเป็นร้อยละ 100.9) ดี สำหรับวิธีวิเคราะห์โดยการเกิดโลหะเชิงซ้อนกับสังกะสีมีความสัมพันธ์ของความเข้มข้นและค่าการดูดกลืนแสงเป็นเส้นตรงในช่วงความเข้มข้น 0.085 - 7.07 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.9957 ค่าความแม่นยำ (ค่าการเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์อยู่ในช่วงร้อยละ 1.27 - 1.97 เปอร์เซนต์) และค่าความถูกต้อง (ค่ากลับคืนเฉลี่ยเป็นร้อยละ 95.66) ดี ผลการศึกษานัี้ได้วิธีวิเคราะห์หาปริมาณอะมิโนบิวทานอลที่ปนเปื้อนโดยวิธีวัดการดูดกลืนแสงได้ และน่าจะพัฒนาต่อเพื่อให้สามารถวิเคราะห์หาปริมาณอะมิโนบิวทานอลที่ปนเปื้อนได้ในระบบเดียวกับการวิเคราะห์เอเทมบิวทอลโดยใช้การตรวจวัดการดูดกลืนแสง
abstract:
Aminobutanol is an impurity in ethambutol hydrochloride. Both compounds were not absorbed UV light. From previous report, the complexed molecules of these compounds with metal showed absorption of UV light. Therefore the objective of this special project was develop the determination of aminobutanol by metal complexation and using absorption spectrophotometric with suitable wavelength. The suitable condition study for complexation of aminobutanol with copper and zinc were at pH 8 with ratio 1:1, maximum absorption wavelength at 214 and 209 nm,repectively and molar absorptivity 9.19×10^2 and 1.94×10^2,repectively. The linearity range of aminobutanol-copper complex was 0.085-7.07 mg/ml with good precision(%RSD=0.57-1.16), Correlation coefficient (r^2=0.9907) and accuracy (%recovery=100.90). The linearity range of aminobutanol-zinc complex was 0.085-7.07 mg/ml with good precision(%RSD=1.27-1.97), Correlation coefficient (r^2=0.9957) and accuracy (%recovery=95.66). The result showed that the analytical methods of aminobutanol by absorption spectrophotometric technique were developed. These informations were useful for the further development of simultaneous determination of ethambutol hydrochloride and its degraded product, aminobutanol.
.