การพัฒนาตำรับพญายอสำหรับใช้ภายนอก |
โดย: ดวงกมล ศรีราจันทร์, เตชิษฐ์ ประสิทธิ์วุฒิเวชช51 ปีการศึกษา: 2549 กลุ่มที่: 14 อาจารย์ที่ปรึกษา: พจวรรณ ลาวัลย์ประเสริฐ ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม Keyword: พญายอ, สารก่อฟิล์ม, แผ่นฟิล์ม, Clinacanthus nutans (Burm.f.) Lindau., film former, film patch |
บทคัดย่อ: บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ.2542 (บัญชียาจากสมุนไพร) ระบุว่าครีมจากสารสกัดพญายอ มีฤทธิ์ในการรักษาเริม งูสวัด แต่พบว่ายารูปแบบดังกล่าวไม่มีความสะดวกในการใช้ และไม่ สวยงาม จึงมีการศึกษาพัฒนาตำรับพญายอ เพื่อใช้ภายนอกในรูปแบบแผ่นฟิล์ม โดยใช้สารก่อ ฟิล์ม 9 ชนิด ได้แก่ methylcellulose, hydroxypropylmethyl cellulose (Methocel E15 และ Methocel E4M premium), sodium alginate, pectin, acacia, tragacanth, carboxymethylcellulose sodium และ polymethacrylates ในการศึกษาเพื่อหาชนิดสารก่อฟิล์ม ที่เหมาะสม ปริมาณสารที่ใช้ต่อฟิล์ม 1 แผ่น แล้วทดลองเติมสารช่วยในตำรับ ได้แก่ สารในกลุ่ม plasticizer, titanium dioxide และสี ทำการประเมินคุณสมบัติแผ่นฟิล์ม ได้แก่ ลักษณะทาง กายภาพ, การแตกตัว, water uptake, tensile strength และ In vivo adhesion performance test จากการทดลองพบว่าสารก่อฟิล์ม methylcellulose 2 %w/v, HPMC 2 %w/v (Methocel E15 และ Methocel E4M premium), sodium alginate 4 %w/v และ pectin 5 %w/v ให้ แผ่นฟิล์มที่มีลักษณะดีและเตรียมได้ง่าย ส่วนสารก่อฟิล์ม acacia 20%w/v, tragacanth 1 %w/v และCMC 5 %w/v พบว่ามีปัญหาในการเตรียมคือหลังอบแล้วลอกออกจาก petri dishไม่ได้ ส่วน polymethacrylates 3 %w/v มีความสามารถในการเกาะผิวต่ำมาก ความหนาของ แผ่นฟิล์มที่เหมาะสมของสารก่อฟิล์มทุกชนิดยกเว้น pectin 5 %w/v เตรียมจากสาร 20กรัม/petri dish พบว่าการเติมกลิ่นได้ผลไม่เป็นที่น่าพอใจ ส่วนการเติมglycerinช่วยให้ได้ลักษณะเนื้อฟิล์ม ที่ดีขึ้น เมื่อทดลองศึกษาผลของ sodium alginate และglycerinในความเข้มข้นต่างๆ พบว่าเมื่อ ใช้ sodium alginate(8 %w/v) 46 %w/w จะให้แผ่นฟิล์มที่เหนียวเหนอะหนะแต่เมื่อเพิ่มความ เข้มข้นขึ้นจะไม่พบปัญหาดังกล่าว การเพิ่มความเข้มข้นของ sodium alginate หรือ การลดความ เข้มข้นของ glycerin ทำให้disintegration time เพิ่มขึ้น สำหรับการเกาะติดผิวหนังพบว่าทั้ง sodium alginate และglycerin ที่ความเข้มข้นสูงกว่าจะให้การยึดเกาะที่ดีกว่า หลังจากเก็บ แผ่นฟิล์มไว้นาน 2 เดือนพบว่าแผ่นฟิล์มมีความคงตัวดี ข |
abstract: From the National List of Essential Drugs A.D. 1999 (List of Herbal Medicinal Products), cream prepared from an extract of Clinacanthus nutans (Burm.f.) Lindau. can be used in the treatment of Herpes Simplex and Varicella Zoster infection. However, it was known that cream dosage form is not practical to use due to lack of convenience and elegance. In this study, formulation of film patch was carried out using 9 types of film former, i.e., methylcellulose, hydroxypropylmethyl cellulose(methocel E15 and methocel E4M premium), sodium alginate, pectin, acacia, tragacanth, CMC and polymethacrylates, in order to obtain suitable film former, an appropriate amount of film former per one patch. Additionally the effects of additives in the formulation such as plasticizer, titanium dioxide and colors were also studied. The film patch properties (physical appearance, disintegration, water uptake, tensile strength and In vivo adhesion performance test) were evaluated. It was found that methylcellulose 2 %w/v, HPMC 2 %w/v (Methocel E15 and Methocel E4M premium), sodium alginate 4 %w/v and pectin 5 %w/v were suitable for easy preparation of the film patch with acceptable appearance. In contrast, when acacia 20 %w/v, tragacanth 1 %w/v and CMC 5 %w/v were used, there was a problem in removing the patch from the petri dish after oven drying. The film patch prepared from polymethacrylates 3 %w/v showed very low adhesion property. An appropriate thickness were prepared from 20 grams of each film former mixture per petri dish except for pectin 5 %w/v. An addition of flavouring agent failed to improve the film property whereas an addition of glycerin could improve the film ค |
. |