การศึกษาและพัฒนาดอกบานไม่รู้โรยสำหรับใช้ทางเครื่องสำอาง

โดย: นางสาวลักษิตา อยู่เย็น, นายวันชาติ สันธากร    ปีการศึกษา: 2559    กลุ่มที่: 13

อาจารย์ที่ปรึกษา: วีรวัฒน์ ตีรณะชัยดีกุล , วราภรณ์ จรรยาประเสริฐ , มัลลิกา ชมนาวัง    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: สารสกัดดอกบานไม่รู้โรย, ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส, ปริมาณฟีนอลลิกรวม, ปริมาณฟลาโวนอยด์รวม, ลิโปโซม, Gomphrena globosa flower extract, antioxidant, anti-tyrosinase, total phenolic content, total flavonoid content, liposome
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดดอกบานไม่รู้โรยและพัฒนาตำรับลิโปโซมเพื่อใช้ทางผิวหนัง ดอกบานไม่รู้โรยที่ใช้ในการทดลองมีทั้งหมดสามสี ได้แก่ สีม่วงสีชมพู และสีขาว ซึ่งถูกสกัดด้วยตัวทำละลายผสมระหว่างโพรพิลีนไกลคอลและน้ำ 50% นำสารสกัดมาทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH และ ABTS ทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase และหาปริมาณ total phenolic content และ total flavonoid content จากผลการทดสอบพบว่าสารสกัดดอกบานไม่รู้โรยสีม่วงมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีที่สุดเมื่อทดสอบด้วยวิธี ABTS โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 0.013mg/mLอย่างไรก็ตามผลการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ด้วยวิธี DPPH พบว่าสารสกัดดอกบานไม่รู้โรยสีม่วงมีค่าต่ำสุดการวิเคราะห์ปริมาณ total phenolic content และ total flavonoid content พบว่าสารสกัดดอกบานไม่รู้โรยสีม่วงมีปริมาณมากที่สุดเท่ากับ 8.88µg gallic acid equivalent/g extract และ 4.50µg catechin equivalent/g extract ตามลำดับเมื่อทำการศึกษาฤทธิ์ในการยับยังการทำงานของเอนไซม์ tyrosinaseพบว่าสารสกัดบานไม่รู้โรยสีม่วงมีฤทธิ์ในการยับยั้งดีที่สุด มีค่า IC50 เท่ากับ 4.26µg/mLสารสกัดบานไมรู้โรยสีม่วงถูกเลือกเพื่อนำมาเตรียมในรูปแบบของลิโปโซมและทำการประเมินคุณสมบัติทางเคมีฟิสิกส์ โดยวัดขนาดอนุภาค การกระจายตัว และประจุที่ผิวของอนุภาคเทียบกับลิโปโซมเปล่าจากผลการทดลองพบว่าขนาดอนุภาค การกระจายตัว และประจุที่ผิวของลิโปโซมที่บรรจุสารสกัดมีขนาดเล็กกว่าลิโปโซมเปล่า และมีค่าเท่ากับ161.67nm, 0.250 และ -61.53mV ตามลำดับ
abstract:
This study aimed to evaluate the bioactivities of Gomphrena globosa flower extracts and to encapsulate this flower extract inliposomes for topical use. The different colours ofGomphrena globosaflowers including violet, pink and white were extracted by hydroglycolic solvent (50% propylene glycol). The bioactivity assays includingantioxidant property, i.e. DPPH and ABTS and anti-tyrosinase were performed. The total phenolic and flavonoid contents were also determined. The obtained results revealed that violet Gomphrena globosa flower extractexhibited the highest bioactivity to scavenge free radicals determined by ABTS assay with the IC50 value of 0.013mg/mL. However, it showed thelowest activityin the DPPHassay. Theviolet Gomphrena globosa flower extract exhibited the highesttotal phenolic and flavonoid contentscompared to the pink and white one with the value of 8.88µg gallic acid equivalent/g extract and4.50µg catechin equivalent/g extract, respectively. In addition, the violet one showed the highest activity to inhibit the tyrosinase with the IC50 of 4.26µg/mL. Therefore, the violetGomphrena globosa flower extractwas selected and incorporated intoliposomes. Their physicochemical properties including particle size, polydispersity index (PDI) and zeta potential were compared to blank liposomes. The particle size of liposomes decreased after incorporation of the extract into theliposome. The particle size, PDI and zeta potential of liposomes containing extract were 161.67nm, 0.250, and -61.53 mV respectively.
.