การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางเครื่องสำอางที่ประกอบด้วยสารสกัดจากใบชา |
โดย: น.ส.ลลิตภัทร ตรีรัตนพันธ์ ,น.ส.สุภัทธา ตรีสุวรรณ ปีการศึกษา: 2556 กลุ่มที่: 13 อาจารย์ที่ปรึกษา: พิมลพรรณ พิทยานุกุล , จิราพร เลื่อนผลเจริญชัย ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม Keyword: การชะลอวัย, สารต้านอนุมูลอิสระ, ยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase, ความเข้มข้นของสารที่ใช้ในการยับยั้งการทางานได้ 50%, สารสกัดชา, การทาให้ขาวขึ้น, anti-aging, antioxidant, anti-tyrosinase, IC50, tea extract, whitening |
บทคัดย่อ: ในปัจจุบันมีการศึกษาเป็นจานวนมากเกี่ยวกับการชะลอวัย และการทาให้ผิวขาวขึ้นโดยชา (Camellia sinensis L.) ซึ่งฤทธิ์ดังกล่าวเป็นผลมาจากคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระและscavenging ของสารกลุ่ม catechins ที่มีอยู่ในชา นอกจากนี้ชายังมีคุณสมบัติในการป้องกันผิวถูกทาลายจากแสงแดดโดยการไปช่วยลดสารอนุมูลอิสระ และลดการอักเสบของผิว ดังนั้นโครงการพิเศษนี้จึงนาสารสกัดชาที่มีจาหน่ายในท้องตลาดมาทาการวิเคราะห์เพื่อหาปริมาณของ total phenolic และ total catechin contents โดยวิธี Folin-Ciocalteu reagent assay และ Aluminium chloride colorimetric assay ตามลาดับ ฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดชาถูกหาด้วยสองวิธีที่แตกต่างกัน คือ 2,2-Diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) radical scavenging activity และ Ferrous metal chelating activity ฤทธิ์ที่ทาให้ขาวขึ้นของสารสกัดชาถูกทดสอบโดยวิธี anti-tyrosinase assay จากนั้นนาสารสกัดชาที่ความเข้มข้นเป็น 50 เท่าของค่า IC50 ของฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase มาเตรียมครีม ซึ่งเป็นอิมัลชั่นชนิดน้ามันในน้า โดยใช้วิธีการปรับเปลี่ยนปริมาณของส่วนประกอบของตารับ และมีการเติม micronized titanium dioxide เพื่อช่วยเสริมฤทธิ์ในการป้องกันแดดให้แก่ตารับ จากนั้นทาการประเมินความคงตัวทางกายภาพและเคมี โดยการวัดการเปลี่ยนแปลงของค่า pH ความหนืด สี และการแยกชั้นของครีมที่เก็บไว้ที่อุณหภูมิ 15, 30 และ 40 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลานาน 29 วัน ผลการศึกษาพบว่าในสารสกัดชา 100 มิลลิกรัม มีปริมาณ total phenolic และ total catechin contents เท่ากับ 48.19 ± 3.75 มิลลิกรัม และ 8.10 ± 0.58 มิลลิกรัม ตามลาดับ ผลการวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดชาด้วยวิธี DPPH และ ferrous metal chelation assays พบว่าฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระนั้นแปรผันโดยตรงกับปริมาณของสารสกัดชา โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 116.50 ± 12.02 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และ 121.34 ± 0.13 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลาดับ นอกจากนี้ สารสกัดชามีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 1092.73 ± 79.71 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร จากการประเมินความคงตัวของตารับครีมเบสและครีมชาที่เก็บไว้ที่อุณหภูมิต่างๆ พบว่าครีมมีความคงตัวดีเมื่อเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 15 > 30 > 40 องศาเซลเซียส |
abstract: There have been a number of encouraging studies of anti-aging and skin whitening benefits of tea (Camellia sinensis L.) which has been attributed to the significant scavenging and antioxidative properties of the catechins contents. Tea appears to exert sun damage protection by quenching free radicals and reducing skin inflammation. In this special project, a selected commercial tea extract was determined for its total phenolic and catechin contents by Folin-Ciocalteu reagent and Aluminium chloride colorimetric assay. Its antioxidant activity was determined by 2 different methods: 2,2-Diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) radical scavenging activity and Ferrous metal chelating activity. The whitening effect of the extract was investigated by anti-tyrosinase assay. Various oil-in-water emulsions containing tea extract were developed by using 50 times with the half maximal inhibitory concentration (IC50) of anti-tyrosinase activity of tea extract. The addition of micronized titanium dioxide as a synergistic enhancing sun protection effect to skin was also added to the developed formulations. The formulations were evaluated for physical and chemical stabilities by measuring changes in pH, viscosities, color, and phase separation for 29 days at 15 °C, 30 °C and 40 °C. The results indicated that 100 mg of the selected tea extract contains 48.19 ± 3.75 mg phenolic compounds and 8.10 ± 0.58 mg of catechin flavonoids. The extract demonstrated dose-dependent antioxidant activity for DPPH and ferrous metal chelation assays with the IC50 of 116.50 ± 12.02 μg/mL and 121.34 ± 0.13 mg/mL, respectively. The tea extract demonstrated anti-tyrosinase activity with IC50 of 1092.73 ± 79.71 μg/mL. The developed formulations exhibited best stability at the following order 15 °C> 30 °C > 40°C. |
. |