การพัฒนาตำรับโลชั่นกันแดดจากสารสกัดใบรางจืด |
โดย: ภารดี เทียมดวงตะวัน, มรกต ภาณุพงศ์สวัสดิ ปีการศึกษา: 2553 กลุ่มที่: 13 อาจารย์ที่ปรึกษา: ปิยนุช โรจน์สง่า , วราภรณ์ จรรยาประเสริฐ ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชเคมี Keyword: รางจืด, โลชั่นกันแดด, สารต้านอนุมูลอิสระ, ฟลาโวนอยด์, Thunbergia Laurifloria, Rang-jerd, sunscreen lotion, antioxidant, flavonoid |
บทคัดย่อ: รางจืด (Thunbergia Laurifloria) เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ Acanthaceae ในตำรายาไทยใช้ใบในการถอนพิษต่างๆ จากการศึกษาสารเคมีในใบรางจืดพบสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ ซึ่งเป็นสารที่มีการรายงานฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ในการป้องกันรังสียูวีอีกด้วย โครงการพิเศษนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตำรับโลชั่นกันแดดจากสารสกัดใบรางจืด โดยทำการสกัดใบรางจืดด้วยวิธี การคั้นสด การต้ม และ การหมัก จากการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี DPPH scavenging assay และวิเคราะห์ปริมาณสารฟีโนลิคและฟลาโวนอยด์โดยวิธี ยูวี-วิสิเบิล สเปกโทรโฟโตเมตทรี พบว่าการต้มเป็นวิธีการสกัดที่ให้ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารฟีโนลิคสูงที่สุด โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 5.16 ± 0.88 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และปริมาณสารฟีโนลิคเท่ากับ 2.38 ± 0.00 กรัมเปอร์เซ็นต์ เมื่อนำสารสกัดโดยวิธีการต้มไปทำให้บริสุทธิ์โดยการสกัดด้วยบิวทานอลได้สารสกัดที่มีปริมาณสารฟลาโวนอยด์เท่ากับ 4.01 ± 0.06 กรัมเปอร์เซ็นต์ จากการศึกษาประสิทธิภาพในการป้องกันแสงแดดของสารสกัดฟลาโวนอยด์และโลชั่นกันแดดที่มีสารสกัด 1 เปอร์เซ็นต์ พบว่ามีฤทธิ์ป้องกันแสงแดด (SPF) เท่ากับ 26.82 ± 0.95 และ 15.81±0.56 ตามลำดับ นอกจากนี้สารสกัดฟลาโวนอยด์ยังมีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสียูวีเอที่ดีอีกด้วย |
abstract: Thunbergia Laurifloria belongs to the family of Acanthaceae. In Thai traditional medicine, Its leaf has been use as detoxifying agent. Previous studies reported that it contains flavonoids which have anti-oxidative and UV filter activities. Therefore, the aim of this study was to develop a sunscreen lotion from T. Laurifloria extract. The leaves were extracted using juice extraction, decoction, and maceration. The extracts were analysed for free-radical-scavenging activity using the 1,1-diphenyl-2-picryl-hydrazyl scavenging assay and total phenolic and total flavonoid contents of the extracts were measured by UV spectrophotometry. The decoction extract possessed the strongest antioxidant activity (IC50 5.16 ± 0.88 µg/mL), and total phenolic content (2.38 ± 0.00 g% chlorogenic acid equivalent). The decoction extract was further purified by partition with butanol to obtain the flavonoid fraction with total flavonoid content of 4.01 ± 0.06 % rutin equivalent. In vitro photoprotection efficacy of the flavonoid fraction and the lotion containing 1 % of the extract were evaluated according to the following parameters: UVB efficacy by estimated sun protection factor (SPF); UVA efficacy by Boot’s Star Rating. The flavonoid fraction and sunscreen lotion obtained SPF values of 26.82 ± 0.95 and 15.81±0.56, respectively and the flavonoid fraction showed a good UVA efficacy. |
. |