การพัฒนาตำรับยาสีฟันสมุนไพร

โดย: ภทรพรรณ อุณาภาค, สิริรัตน์ ราษฎร์ดุษดี    ปีการศึกษา: 2549    กลุ่มที่: 13

อาจารย์ที่ปรึกษา: เอมอร โสมนะพันธุ์ , วีณา จิรัจฉริยากูล    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย

Keyword: ตำรับยาสีฟันสมุนไพร, Herbal Toothpaste Formulation
บทคัดย่อ:
การศึกษาทดลองพัฒนาตำรับยาสีฟันที่มีคุณภาพดี และมีส่วนผสมของสมุนไพรไทย ของโครงการพัฒนาตำรับยาสีฟันสมุนไพร เริ่มต้นจากการพิจารณาคัดเลือกสมุนไพร จากหนังสือ สมุนไพรที่ใช้ในทันตกรรม จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ ฟ้าทะลายโจร ฝรั่ง ยอ ที่จะนำมาใช้ในตำรับ เตรียมสารสกัดสมุนไพรดังกล่าว บันทึกน้ำหนักของผงยาที่ใช้เตรียมสารสกัด 1 กรัม (Drug extract ratio) และThin-layer chromatography ของสารสกัด จากนั้นคัดเลือกยาพื้นของยาสีฟัน (toothpaste base) ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมจำนวน 2 ชนิด (base) และเติมส่วนผสมของสารสกัด สมุนไพร สามารถเตรียมยาสีฟันจากสมุนไพร 3 ชนิด ได้ 3 ตำรับ โดยตำรับที่ 1 (base A) เป็นยาสี ฟันชนิดขุ่น (paste) สีเขียวโดยมีส่วนผสมของสารสกัดจากใบฝรั่ง ตำรับที่ 2 (base B) เป็นยาสีฟัน ชนิดใส (gel) สีเขียวอ่อนโดยมีส่วนผสมของสารสกัดจากส่วนเหนือดินของฟ้าทะลายโจร ตำรับที่ 3 (base A) เป็นยาสีฟันชนิดขุ่น (paste) สีขาวหม่นโดยมีส่วนผสมของสารสกัดจากตะกอนยอ (noni precipitate) ศึกษาความคงตัวของยาสีฟันทั้ง 3 ตำรับ โดยประเมินคุณสมบัติทางกายภาพของยา สีฟันที่อุณหภูมิห้องและที่สภาวะเร่ง ( 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 สัปดาห์) ผลปรากฎดังนี้ ตำรับที่ 1 ลักษณะสีเข้มขึ้นเล็กน้อย ส่วนความหนืดและค่า pH ไม่เปลี่ยนแปลง ตำรับที่ 2 ลักษณะสี ความหนืดและค่า pH ไม่เปลี่ยนแปลง และตำรับที่ 3 ลักษณะสี ความหนืดและค่า pH ไม่เปลี่ยนแปลง เมื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ยาสีฟันจำนวน 40 คน ปรากฏผลดังนี้ ผู้ใช้มีความพึง พอใจในด้านฟองขณะแปรง ความรู้สึกสดชื่นและปากสะอาดหลังแปรง
abstract:
This project aimed to develop a quality toothpaste formula containing herbal extract as the active ingredient. The study begins with the selection of herbs from the book dealing with Thai herbs in dentistry. Andrographis paniculata, Psidium guajava and Morinda citrifolia were selected. They were extracted with ethanol. The weight of herbal powder that produced 1 g of the extract (drug extract ratio) was recorded. Thinlayer chromatograms of the extracts were performed. Two toothpaste bases i.e. paste base and gel base, were selected and used for the formulation. Three formulations of herbal toothpastes were achieved. Formulation 1 was paste and prepared from Guava leaf (Psidium guajava) extract. Formulation 2 was gel and prepared from Andrographis paniculata herb extract. Formulation 3 was paste and prepared from noni precipitate extract. The three toothpastes were tested for the stability by keeping them at room temperature and at 60 oC for two weeks. The stability of toothpastes were evaluated from the unchange of the color, pH and viscosity. They were stable. The satisfactory of the users (40 persons) was evaluated as well. They were satisfied with the foam during brushing the teeth and the freshness after that.
.