การสำรวจความรู้และการใช้ฮอร์โมนทดแทนในผู้หญิงไทยวัยใกล้หมดประจำเดือนและวัยหมดประจำเดือน |
โดย: นส.สุภัททิรา สัตบุรุษาวงศ์,
นส.สุรีย์รัตน์ รัญชัย
ปีการศึกษา: 2546 กลุ่มที่: 13 อาจารย์ที่ปรึกษา: สุภาภรณ์ พงศกร , สมใจ นครชัย ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวิทยา Keyword: วัยหมดระดู, ฮอร์โมนทดแทน , : Menopause, Hormone replacement |
บทคัดย่อ: โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความรู้เกี่ยวกับภาวะหมดระดู การใช้ฮอร์โมนทดแทน รวมถึงอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นจากการใช้ฮอร์โมนทดแทนในผู้หญิงวัยใกล้หมดระดูและหลังหมดระดูในกรุงเทพมหานครที่มีอายุระหว่าง 45–65 ปี ในการสุ่มตัวอย่างใช้วิธี cluster sampling เพื่อสุ่มพื้นที่ในกรุงเทพมหานครที่จะศึกษา จากนี้ใช้วิธี systematic random sampling เพื่อสุ่มตัวอย่างจำนวน 96 คน จำนวนตัวอย่างนี้ได้จากการคำนวณทางสถิติ การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามโดยวิธีสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ผลจากการเก็บข้อมูลได้จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 62 คน ปรากฏว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ว่าก่อนหมดระดูจะมีระดูมาไม่สม่ำเสมอมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 87.1 และมีความรู้ว่าวัยหมดระดูอาจเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้น้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 35.5 สำหรับการใช้ฮอร์โมนทดแทนพบมีผู้ใช้ค่อนข้างน้อย คิดเป็นร้อยละ 17.7 และอาการข้างเคียงจากการใช้ฮอร์โมนทดแทนที่พบได้แก่ น้ำหนักตัวเพิ่ม คิดเป็นร้อยละ 27.3 ส่วนอาการเจ็บคัดเต้านมและปวดศีรษะพบน้อย ผลจากการศึกษาสรุปได้ว่า ผู้หญิงวัยใกล้หมดระดูและหลังหมดระดูในช่วงอายุ 45–65 ปี ในกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับภาวะหมดระดู แต่มีอัตราการใช้ฮอร์โมนทดแทนอยู่ในระดับต่ำ พบอาการข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ฮอร์โมนทดแทนน้อย ที่พบส่วนใหญ่คือ น้ำหนักตัวเพิ่ม |
abstract: The purpose of this special project was to survey the perception and use of hormone replacement as well as its side effects in peri– and post– menopausal women aged 45–65 years old in Bangkok. Cluster sampling design was used to select one area in Bangkok to study. Then, systematic random sampling was used in order to obtain 96 subjects. The number of subjects was statistically calculated. Using questionnaire to collect data by telephone interview, only 62 subjects were obtained. The results showed that the highest percentage of subjects (87.1%) knew that irregular bleeding might occur before their menopausal period, while the lowest percentage of subjects (35.5%) knew that cardiovascular diseases could occur during post-menopausal period. However, the number of hormone replacement users was quite low (17.7%). Some side effects of hormone replacement therapy experienced were weight gain (27.3%), breast pain (18.2%) and headache (9.1%). In conclusion, most of peri– and post– menopausal women in Bangkok perceived about menopause, but hormone replacement had been used in only some women. Weight gain was the most common side effect ( 27.3%). |
. |