การพัฒนาไมโครอิมัลชันที่บรรจุไมโคนาโซล

โดย: น.ส.ณัฐสุดา แสงศิวะฤทธิ์ ,น.ส.ศิรดา เด่นชูวงศ์    ปีการศึกษา: 2556    กลุ่มที่: 11

อาจารย์ที่ปรึกษา: จิราพร เลื่อนผลเจริญชัย , พิมลพรรณ พิทยานุกุล    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ไมโคนาโซล, ไมโครอิมัลชั่น, แผนภาพวัฏภาคไตรภาคเทียม, ขีดการละลาย, miconazole, microemulsion, pseudoternary phase diagram, solubility
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตารับไมโครอิมัลชั่นที่บรรจุยาไมโคนาโซลเพื่อเพิ่มขีดการละลายของยาไมโคนาโซลซึ่งเป็นยาที่ละลายน้ายาก และประเมินคุณสมบัติทางเคมีฟิสิกส์ของตารับไมโครอิมัลชั่น โดยการศึกษาในครั้งนี้ได้ทาการสร้างแผนภาพวัฎภาคไตรภาคเทียมด้วยเทคนิคการไตไตรทด้วยน้า สัดส่วนโดยน้าหนักที่เหมาะสมของวัฎภาคน้ามัน (oleic acid) วัฎภาคสารก่ออิมัลชั่นและสารก่ออิมัลชั่นร่วม (Tween® 80:Ethanol, Tween® 80:Isopropanol และ Tween® 80:Transcutol® ในอัตราส่วน 1:1, 2:1 และ 3:1 โดยน้าหนัก ตามลาดับ) และวัฎภาคน้า คือ 20%, 60% และ 20% ตามลาดับ พบว่าขีดการละลายของไมโคนาโซลที่บรรจุในไมโครอิมัลชั่นเบสมีค่ามากกว่าน้ามันและน้า ตามลาดับ และการใช้ Tween® 80:Ethanol ในอัตราส่วน 1:1 โดยน้าหนักเป็นสารก่ออิมัลชั่นและสารก่ออิมัลชั่นร่วมจะให้ค่าขีดการละลายของไมโคนาโซลสูงที่สุด คือ 1.56% โดยน้าหนัก เมื่อเตรียมตารับไมโครอิมัลชั่นที่บรรจุยาไมโคนาโซล 0.5% โดยน้าหนัก แล้วนามาประเมินคุณสมบัติทางเคมีฟิสิกส์ของตารับ ซึ่งประกอบด้วย ลักษณะทางกายภาพ การนาไฟฟ้า ค่าความเป็นกรด-ด่าง ความหนืดและพฤติกรรมการไหล ขนาดอนุภาค และความคงตัวทางเทอร์โมไดนามิกส์ เปรียบเทียบกับไมโครอิมัลชั่นเบส พบว่าทุกตารับมีลักษณะเป็นสารละลายใสสีเหลืองอ่อน การทดสอบการนาไฟฟ้าพบว่าทุกตารับเป็นไมโครอิมัลชั่นชนิด o/w มีค่าความเป็นกรด-ด่างอยู่ในช่วง 3.8-5.5 และทุกตารับมีพฤติกรรมการไหลเป็นแบบ Newtonian ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของไมโครอิมัลชั่น ส่วนขนาดอนุภาคของไมโครอิมัลชั่นนั้นจะเพิ่มขึ้น เมื่อมีสัดส่วนของ Tween® 80 เพิ่มมากขึ้น และพบว่าตารับของไมโครอิมัลชั่นเบสและไมโครอิมัลชั่นที่บรรจุไมโคนาโซลมีความคงตัวทางกายภาพที่ดีและไม่เกิดการแยกชั้น มีเพียงตารับเดียว คือ ตารับที่มีสารก่ออิมัลชั่นและสารก่ออิมัลชั่นร่วมเป็น Tween® 80:Transcutol® ในอัตราส่วน 3:1 โดยน้าหนัก ที่เกิดการแยกชั้นขึ้นภาพหลังการทดสอบความคงตัวด้วยวิธี freeze-thaw
abstract:
The aim of this study was to develop miconazole-loaded microemulsions in order to increase solubility of miconazole, a slightly water-soluble drug and to determine physicochemical characteristics of microemulsions. Pseudoternary phase diagrams were constructed by water titration method. Proper weight ratio of oil phase (oleic acid), emulsifier/co-emulsifier phase (Tween® 80:Ethanol, Tween® 80:Isopropanol and Tween® 80:Transcutol® at the ratios of 1:1, 2:1 and 3:1, respectively) and water phase was 20%, 60% and 20% w/w, respectively. The solubility of miconazole in microemulsion bases was more than that in oil and water, respectively. The best solubility of miconazole (1.56 % w/w) was found in the formulation that containing Tween®80:Ethanol (1:1, by weight) as emulsifier/co-emulsifier phase. The drug-loaded microemulsions containing 0.5% w/w of miconazole were prepared and their physicochemical properties including the physical appearance, conductivity, pH, viscosity and rheological behavior, particle size and thermodynamic stability were determined and compared to the blank counterpart. It was found that all microemulsion formulations were clear, pale yellow liquid. The conductivity test showed that all formulations were o/w type. The pH of the formulations was in the range of 3.8 to 5.5. All formulations exhibited Newtonian flow behavior, as expected from microemulsions. The particle size of the microemulsion formulations increased when the ratio of Tween® 80 increased. All unloaded and miconazole-loaded microemulsions exhibited the good physical stability. No phase separation was found. Only unloaded microemulsion containing Tween® 80:Transcutol® at the ratio of 3:1 as emulsifier/co-emulsifier occurred phase separation after the third cycle of freeze-thaw stress test.
.