การคัดกรองหาแบคทีเรียทางทะเลที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ

โดย: เพ็ญนภา เจริญวิวัฒนกิจ,มานิตา สุริยรังษี    ปีการศึกษา: 2550    กลุ่มที่: 11

อาจารย์ที่ปรึกษา: มัลลิกา ชมนาวัง    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย

Keyword: แอคติโนมัยเซตีส, ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย, disc diffusion method, bioautography, MIC, Actinomycetes, antibacterial activity, disc diffusion, bioautography, MIC
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์ในการคัดกรองหาสารสกัดจากเชื้อแบคทีเรียกลุ่มแอคติโน- มัยเซตีส ที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพจากตัวอย่างดินทะเล ณ เกาะลันตา จังหวัดกระบี่ โดยทำการสกัดสารจากแบคทีเรียในทั้งหมด 10 ชนิดที่เก็บตัวอย่างได้จากดินทะเลบริเวณต่างๆ เพื่อนำมาหา สารสำคัญที่สามารถยับยั้งเชื้อก่อโรคที่สนใจ จากนั้นทำการเพาะเลี้ยงเพิ่มปริมาณในอาหารเหลว yeast – malt broth และสกัดสารโดยวิธี partition ด้วยเอธิลอะซิเตต จากนั้นนำสารสกัดหยาบที่ได้มาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพด้วยวิธี disc diffusion โดยทำการทดสอบต่อเชื้อ Staphylococcus aureus Staphylococcus epidermidis Bacillus cereus และ Pseudomonas aeruginosa พบว่าสารสกัดหยาบจากแบคทีเรียแอคติโนมัยซีส LT3-17 มีฤทธิ์ ยับยั้งเชื้อต่างๆได้ดี สามารถวัดเส้นผ่านศูนย์กลางบริเวณที่เชื้อไม่เจริญได้ 3.27, 3.20, 2.89 และ0.84 เซนติเมตร ตามลำดับ ทำการหาสารสำคัญที่แสดงฤทธิ์จาก TLC ด้วยวิธี bioautographyโดยใช้ระบบนำพาคือ dichloromethane : methanol ในอัตราส่วน 9:1 โดยปริมาตร และทำการทดสอบกับเชื้อ S. aureus S. epidermidis และ B. cereus ผลการทดสอบพบว่าสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อเหล่านี้ได้ดีอยู่ที่ตำแหน่ง Rf เท่ากับ 0.426 จากนั้นนำสารสกัด หยาบมาสกัดแยกให้ได้สารบริสุทธิ์ด้วยวิธีทางโครมาโตกราฟฟี ได้สารสำคัญบริสุทธิ์ 11.06% โดย น้ำหนัก และทำการหาค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อได้ (MIC) ต่อเชื้อ S. aureus S. epidermidis และ B. cereus พบว่าค่า MIC ต่อเชื้อ S. epidermidis มีค่า เท่ากับ 1.25 μg/ml ในขณะที่ค่า MIC ต่อเชื้อ S. aureus และ B. cereus มีค่าน้อยกว่า 0.3125 μg/ml จากผลการทดลองจะพบว่า สารสกัด LT 3-17 มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อ S. aureusS. epidermidis และ B. cereus ได้ดี แต่มีผลเพียงเล็กน้อยในการยับยั้งเชื้อ Ps. aeruginosa
abstract:
The purposes of this study were to screen the marine microorganisms extracts for antibacterial activity and to purify an active substance from the extract. Ten actinomycetes strains were collected from sea soil in various areas of Lanta Island, Krabi, Thailand and cultured in yeast-malt broth. The fermentation broths were subsequently extracted with ethyl acetate. The crude extracts were tested for antibacterial activity. The screening test was done by disc diffusion method against 4 pathogenic microorganisms: Staphylococcus aureus, Staphylococcus epidermidis, Bacillus cereus, and Pseudomonas aeruginosa. The results showed that the crude extract of actinomycetes strains LT3-17 exhibited significant antibacterial activity against S. aureus, S. epidermidis, B. cereus and Ps. aeruginosa with the inhibition zones of 3.27, 3.20, 2.89 and 0.84 cm, respectively. The bioautography method using dichloromethane : methanol (9:1v/v) as solvents was conducted to find the active component on TLC. The active spot of Rf at 0.426 was found to possess strong antibacterial activity against S. aureus, S. epidermidis, and B. cereus. Further purification on several chromatographic techniques yielded the pure active compound at 11.06%w/w. The pure compound was tested for MIC against S. aureus, S. epidermidis, and B. cereus. The MIC value was 1.25 μg/ml against S. epidermidis while the MIC value against S. aureus and B. cereus were less than 0.3125 μg/ml. In conclusion, the LT3-17 extract could inhibit S. aureus, S.epidermidis, B. cereus effectively, but had a little effect on PS. aeruginosa.
.