การพัฒนาแนวปฏิบัติสำหรับการให้คำปรึกษาด้านผลิตภัณฑ์สมุนไพรของเภสัชกรชุมชน ตอนที่ 2

โดย: นส.พัชรวดี กังวาลไกล,นส.พัชราภรณ์ ธำรงกิจเจริญ    ปีการศึกษา: 2546    กลุ่มที่: 11

อาจารย์ที่ปรึกษา: สมภพ ประธานธุรารักษ์ , ปรีชา มนทกานติกุล , ศรันย์ กอสนาน    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์

Keyword: แนวปฏิบัติการให้คำปรึกษา, ผลิตภัณฑ์สมุนไพร, เภสัชกรชุมชน , counseling guidelines, herb drug, community pharmacist
บทคัดย่อ:
การให้คำปรึกษาด้านผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่เหมาะสมเป็นหน้าที่หนึ่งของเภสัชกรชุมชน โครงการพิเศษนี้มีจุดประสงค์ที่จะพัฒนาแนวปฏิบัติสำหรับการให้คำปรึกษาด้านผลิตภัณฑ์สมุนไพรของเภสัชกรชุมชน โดยจัดทำแนวปฏิบัติสำหรับการให้คำปรึกษาด้านผลิตภัณฑ์สมุนไพรแบ่งเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ประกอบด้วยชนิดและความหมายของผลิตภัณฑ์สมุนไพร สรรพคุณและข้อบ่งใช้ ขนาดของผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ใช้ในการรักษาโรค อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ข้อควรระวังในการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพร การเกิดปฏิกิริยาระหว่างผลิตภัณฑ์สมุนไพรและยาแผนปัจจุบัน และการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรผิดข้อบ่งใช้ ตอนที่ 2 เป็นข้อมูลการให้คำปรึกษาสำหรับผลิตภัณฑ์สมุนไพร 4 ชนิด ได้แก่ มะขามแขก ฟ้าทะลายโจร ขมิ้นชัน และ evening primrose oil โดยใช้แบบสอบถามสำรวจความคิดเห็นของเภสัชกรชุมชนจำนวน 46 คน ผลการสำรวจพบว่า เภสัชกรที่ตอบแบบสอบถามมีอายุเฉลี่ย 34.8 ปี ร้อยละ 58.7 มีประสบการณ์การปฏิบัติงานเภสัชกรรมชุมชนน้อยกว่า 5 ปี และ ร้อยละ 54.3 ของเภสัชกรให้คำปรึกษาแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรน้อยกว่า 10 ครั้งต่อสัปดาห์ เภสัชกรอ่านเนื้อหาแล้วมีความเห็นว่า เนื้อหาน่าสนใจ อ่านแล้วเข้าใจ ใช้ภาษาเหมาะสม เนื้อหาเพียงพอ และนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยมีความพอใจโดยรวมสำหรับตอนที่ 1 อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 51.2) ถึงค่อนข้างมาก (ร้อยละ 23.3) และตอนที่ 2 มีความพอใจโดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 41.3) ถึงค่อนข้างมาก (ร้อยละ 39.1) ดังนั้นแนวปฏิบัติสำหรับการให้คำปรึกษาด้านผลิตภัณฑ์สมุนไพรดังกล่าวสามารถใช้เป็นต้นแบบเพื่อเผยแพร่ข้อมูลผลิตภัณฑ์สมุนไพรให้กับเภสัชกรชุมชนเพื่อใช้ประกอบการให้คำปรึกษาได้
abstract:
In order to promote rational herbal use in Thailand, this special project is aimed at the development of counseling guidelines for community pharmacist on herbal medicine. The guidelines were comprised of 2 parts; part 1: general information, i.e., types of herbal medicine, dosage regimen, labeling and leaflet, adverse effect, and misuse, part 2: detail of selected herbal medicine, i.e., Senna alexandrina, Andrographis paniculata, Curcuma longa, Oenothera biennis. The guidelines were evaluated by 46 community pharmacists. The result showed that the average age of the community pharmacist is 34.8 years old and 58.7% of them have experience less than 5 years in the pharmacy. It is found that 54.3% of them gave counseling to the clients less than 10 times per week. Most of the pharmacists evaluated that the guidelines were written clearly and appropriately, comprised of interesting and sufficient data, and useful for counseling. For overall satisfaction, the guidelines were assessed as average to good with the percentage of 23.3% and 51.2%, respectively, for the first part and 41.3% and 39.1%, respectively, for the second part. Therefore, the guidelines have been proved to be useful for community pharmacists for counseling on herbal medicine.
.