ผลของสารสกัดจากใบรางจืดต่อการป้องกัน ความเป็นพิษในเซลล์ตับเมื่อได้รับพาราเซตามอล |
โดย: นางสาวภัทราพร กำเนิดสิทธิเสรี,นางสาวอารีย์รัตน์ ชุณหะชา ปีการศึกษา: 2560 กลุ่มที่: 10 อาจารย์ที่ปรึกษา: คณิสส์ เสงี่ยมสุนทร , ปัทมพรรณ โลมะรัตน์ ภาควิชา: ภาควิชาชีวเคมี Keyword: paracetamol-induced hepatotoxicity, Thunbergia laurifolia leaf extract, hepatoprotective, hepatocyte-liked cell, HepaRG, paracetamol-induced hepatotoxicity, Thunbergia laurifolia leaf extract, hepatoprotective, hepatocyte-liked cell, HepaRG |
บทคัดย่อ: พาราเซตามอลเป็นยาลดไข้ แก้อักเสบที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน แต่หากได้รับยาเกินขนาดอาจก่อให้เกิดเมตาบอไลต์ที่เป็นพิษ เช่น NAPQI ซึ่งเป็นสารอนุมูลอิสระ สมุนไพรรางจืดเป็นสมุนไพรที่นิยมใช้ในการถอนพิษรวมถึงมีการศึกษาบางการศึกษาพบว่าสารสำคัญในใบรางจืดที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระซึ่งอาจให้ผลดีในการปกป้องเซลล์ตับจากพิษจากการใช้พาราเซตามอลเกินขนาด เพื่อทดสอบผลของสารสกัดจากใบรางจืดต่อการต้านพิษจากการได้รับพาราเซตามอล เกินขนาด นำพาราเซตามอลที่ความเข้มข้นต่าง ๆ บ่มร่วมกับเซลล์ตับ ผลการทดลองพบว่าความเข้มข้นของพาราเซตามอลที่ทำให้เซลล์ตาย 50% (IC50) ของเซลล์คล้ายเซลล์ตับเท่ากับ 15 mM (hepatocyte-like cells: HLCs) และ 10 mM สำหรับเซลล์มะเร็งตับ HepaRG และความเข้มข้นของสารสกัดจากใบรางจืด 0.25-0.50 mg/mL มีแนวโน้มลดอัตราการตายจากผลการต้านพิษได้ดีเมื่อให้พาราเซตามอลพร้อมกับสารสกัดจากใบรางจืด เมื่อศึกษาการแสดงออกของยีนในเซลล์ตับเมื่อบ่มร่วมกับพาราเซตามอลภายใต้สภาวะดังกล่าวด้วยวิธี real-time PCR พบว่ายีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์กลูตาไธโอนในเซลล์ HLC มีการแสดงออกเพิ่มขึ้น ส่วนเซลล์ HepaRG มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ในขณะที่ยีนที่เกี่ยวข้องเอนไซม์ในกระบวนการต้านอนุมูลอิสระในเซลล์ทั้ง 2 ชนิดมีการเพิ่มขึ้นเล็กน้อย รวมถึงเมื่อวิเคราะห์ปริมาณกลูตาไธโอนในเซลล์ทั้ง 2 ชนิดพบว่ามีปริมาณลดลง เช่นเดียวกับฤทธิ์ของเอนไซม์ GST อนึ่งการศึกษานี้ศึกษาเพียงผลของสารสกัดจากใบรางจืดซึ่งสกัดด้วยน้ำร้อนและทำให้แห้งโดยวิธีสเปรย์ไดร์ (spray dry) และใช้กาแฟอิกเป็นสารมาตรฐานแต่อาจมีสารสำคัญอื่นรวมอยู่ด้วย |
abstract: Paracetamol is widely used as antipyretics and analgesics. However, paracetamol overdose may generate toxic metabolites such as NAPQI, an oxidative agent. Thunbergia laurifolia is a medicinal plant that commonly used as antidote for toxic substances. The recent studies revealed that Thunbergia laurifolia leaf extract’s has an antioxidant activity that could protect against paracetamol induced toxicity in hepatocytes. To evaluate the antioxidant activity of Thunbergia laurifolia leaf extract that associated with paracetamol toxicity. We incubated hepatocytes with various concentrations of paracetamol. The results demonstrated that IC50 in hepatocyte-like cells (HLCs) and HepaRG were 15 mM and 10 mM respectively. In HepaRG, Thunbergia laurifolia leaf extract showed hepatoprotective effect on cell viability at the concentration range 0.25-0.50 mg/mL after incubated paracetamol with Thunbergia laurifolia leaf extract. The antioxidant genes expression of hepatocytes after treated with paracetamol and Thunbergia laurifolia leaf extract using real-time PCR technique showed that glutathione synthetic genes were increased in HLC and slightly increase in HepaRG. The antioxidative enzyme involved genes were slightly increased in both cells. Glutathione content was decreased in both cells same as GST enzyme activities. However, this study used only leaf water extracted and spray dried of Thunbergia laurifolia using caffeic acid as a reference compound. |
. |