การพัฒนานิโอโซมของอาร์บูตินเพื่อการนาส่งทางผิวหนัง

โดย: กมลวรรณ นิลหยก, กัญญาณัฐ ธีรวานนท์    ปีการศึกษา: 2553    กลุ่มที่: 10

อาจารย์ที่ปรึกษา: วราภรณ์ จรรยาประเสริฐ    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: นิโอโซม, อาร์บูติน, วิธีกลับวัฏภาคด้วยการระเหยแห้ง, การนาส่งยาผ่านผิวหนัง, Niosome, Arbutin, Reverse phase evaporation, Dermal delivery
บทคัดย่อ:
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่จะเตรียมนิโอโซมอาร์บูตินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการนาส่งทางผิวหนัง โดยศึกษาปัจจัยต่างๆในการเตรียมนิโอโซมที่มีผลต่อความคงตัว ขนาด และประสิทธิภาพในการกักเก็บอาร์บูติน ปัจจัยที่ศึกษา ได้แก่ การใช้ Solulan C24 เป็นสารเพิ่มความคงตัว การลดขนาดนิโอโซมผ่านเมมเบรน ความเข้มข้นของอาร์บูติน และส่วนประกอบของผนังนิโอโซม การเตรียมนิโอโซมอาร์บูตินทาโดยวิธีกลับวัฏภาคด้วยการระเหยแห้ง (Reverse phase evaporation) โดยใช้อัตราส่วน Span 60:Tween 60 ที่ 0:1, 2:1, 1:1, 1:2 และ 0:1 และลดขนาดโดยการอัดผ่านเมมเบรนชนิดเซลลูโลสเอสเทอร์ขนาดรูพรุน 200 นาโนเมตร จากการศึกษาคุณสมบัติทางด้านกายภาพและเคมี ได้แก่ การดูลักษณะภายนอกด้วยกล้องจุลทรรศน์ การวัดขนาดและการกระจายของขนาดด้วยวิธี Photon correlation spectroscopy และการวิเคราะห์ปริมาณการกักเก็บของอาร์บูตินในนิโอโซมด้วยวิธี Ultracentrifugation พบว่าตารับที่มีความเหมาะสมสาหรับเตรียมนิโอโซมอาร์บูติน คือ ตารับที่ประกอบด้วยอัตราส่วนของ Span60:Tween 60 เป็น 1:2 และ 0:1 ซึ่งเป็นตารับมีความคงตัวดีที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยขนาดนิโอโซมอยู่ในช่วง 144-178 นาโนเมตร ค่าเฉลี่ยของปริมาณอาร์บูตินที่ถูกกักเก็บในนิโอโซมก่อนและหลังทาการลดขนาดเท่ากับร้อยละ 1.88 และ 1.89 ตามลาดับ เมื่อเก็บนิโอโซมอาร์บูตินไว้ที่ 4 ◦C นาน 1 เดือน พบว่า นิโอโซมอาร์บูตินมีความคงตัวดีและไม่ตกตะกอน โดยมีขนาดของนิโอโซมและร้อยละของปริมาณอาร์บูตินที่ถูกกักเก็บในนิโอโซมไม่แตกต่างจากเดิมอย่างมีนัยสาคัญ (P > 0.05) อย่างไรก็ตาม ควรมีการทดลองต่อไป ด้วยการศึกษาประสิทธิภาพการซึมผ่านผิวหนังของนิโอโซมอาร์บูติน เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่อไปในอนาคต
abstract:
The purpose of this study was to develop arbutin niosomes for enhancement of dermal delivery by studying process variables affecting stability, size and entrapment efficiency. The studied variables factors included the use of Solulan C24, size reduction by membrane extrusion, concentration of arbutin and membrane compositions. Arbutin niosomes were prepared by a reverse phase evaporation method using various ratios of Span 60:Tween 60 at 0:1, 2:1, 1:1, 1:2 and 0:1 and extrusion through 200 nm cellulose ester membrane. The physicochemical properties were evaluated including determination of morphology by light microscopy, size and distribution by photon correlation spectroscopy and entrapment efficiency by Ultracentrifugation. It was found that the most suitable ratio of Span 60:Tween 60 were 1:2 and 0 :1 which gave the most stable niosomes. The average size of niosome was in the range of 144-178 nm and the percent entrapment of arbutin before and after size reduction was 1.88% and 1.89%, respectively. After stored at 4 ºC for 1 month, the arbutin niosomes were found stable without aggregation. The size of niosomes and the percent entrapment of arbutin niosomes did not change significantly (P > 0.05). It was suggested that study should be further investigated for the permeation of arbutin niosomes through the skin to develop the effective topical preparation.
.