การศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์และฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์อะซิติลโคลีนเอสเทอเรสของสารสกัดผักพื้นบ้าน 9 ชนิด

โดย: พิชญา จันทรสมโภช,วิมลกาญจน์ ศิริสุขสันต์    ปีการศึกษา: 2550    กลุ่มที่: 10

อาจารย์ที่ปรึกษา: มัลลิกา ชมนาวัง    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย

Keyword: : ผักพื้นบ้าน, ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย, ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์อะซิติลโคลีนเอสเทอเรส, indigenous vegetables, antimicrobial activity, antiacetylcholinesterase activity
บทคัดย่อ:
โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์และฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์อะซิ- ติลโคลีนเอสเทอเรสของผักพื้นบ้านไทย ที่ใช้ในการประกอบอาหาร เพื่อเป็นแนวทางในการวิจัย และพัฒนาเป็นยารักษาโรคต่อไป ผักพื้นบ้านที่นำมาใช้ในการศึกษาทั้งหมด 9 ชนิด ประกอบด้วย ผักกาดฮิน กระโดน ติ้ว ชะมวง ผักแขยง ยอ มะระขี้นก เตยหอม และผักไผ่ โดย นำมาสกัดด้วยเมทานอล จากนั้นนำสารสกัดหยาบที่ได้ไปทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์ด้วยวิธี agar dilution method พบว่า สารสกัดจากชะมวงและผักแขยง มีความสามารถในการต้านเชื้อ Bacillus cereus ได้ดีที่สุด มีค่าความเข้มข้นต่ำสุดในการยับยั้งเชื้อ (MIC) เท่ากับ 8 mg/ml นอกจากนี้สารสกัดจากชะมวงยังสามารถต้านเชื้อ Pseudomonas aeruginosa และ Staphylococcus epidermidis ได้ดีที่สุด มีค่า MIC เท่ากับ 8 mg/ml สำหรับฤทธิ์ในการต้าน เชื้อ Staphylococcus aureus พบว่าสารสกัดจากติ้วให้ผลที่ดีที่สุดโดยมีค่า MIC เท่ากับ 4 mg/ml จากนั้นได้ทำการศึกษาถึงองค์ประกอบในสารสกัดหยาบเพื่อหาว่าสารตัวใดที่ออกฤทธิ์ในการต้าน เชื้อโดยใช้วิธี TLC-bioautography มีระบบนำพาคือ chloroform : methanol อัตราส่วน 9:1 ผล การศึกษาพบว่า สารสำคัญจากผักแขยงที่ Rf เท่ากับ 0.62 สามารถยับยั้งเชื้อ B. cereus , S. aureus และ S. epidermidis ได้ ส่วนการศึกษาฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์อะซิติลโคลีนเอสเทอเรส โดยใช้วิธี TLC ร่วมกับการทดสอบด้วยวิธี Ellman’s method ปรากฏว่าสารสกัดจาก ผักกาดฮิน ติ้ว ชะมวง ผักแขยง และมะระขี้นก มีสารสำคัญที่แสดงฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์อะซิติลโคลีนเอสเทอเรสจากผลการศึกษาของโครงการวิจัยดังกล่าว ทำให้ทราบถึงศักยภาพของการนำผักพื้นบ้านของไทยมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาหาสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพต่อไป
abstract:
The purpose of this special project was to determine antimicrobial and antiacetylcholinesterase activities of Thai indigenous vegetables used as foods. In order to search for new antimicrobial and new acetylcholinesterase inhibitors, nine indigenous vegetables (Brassica juncea, Careya sphaerica, Cratoxylum formosum, Garcinia cowa, Limnophila geoffrayi, Momordica charantia, Morinda citrifolia, Pandanus amaryllifolius and Polygonum odoratum) were selected for our study. Each indigenous vegetables was extracted with methanol at the room temperature and subsequently tested for antimicrobial activity using agar dilution method. The result showed that the most effective extracts that could inhibit Bacillus cereus was the methanolic extract from G. cowa and L. geoffrayi (MIC 8 mg/ml). The extract from G. cowa could inhibit Pseudomonas aeruginosa and Staphylococcus epidermidis at the MIC of 8 mg/ml. For the best of inhibitory activity of Staphylococcus aureus was the extract from C. formosum (MIC 4 mg/ml). The TLC-bioautography using chloroform : methanol (9:1) as mobile phase was used for evaluation of the active components. The results showed that the compound from L. geoffrayi at Rf = 0.62 could inhibit B. cereus, S. aureus and S. epidermidis. To determine antiacetylcholinesterase activity, the TLC combining bioassay with Ellman’s method was used. The methanolic extracts from B. juncea, C. formosum, G. cowa, L. geoffrayi and M. charantia showed remarkable activity. Therefore, the results of this special project informed about the potential of Thai indigenous vegetables to be further studied on biologically active substances.
.