การใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรในผู้สูงอายุ

โดย: สุพัตรา วงศ์ทองดี, อารายา เอมเปีย    ปีการศึกษา: 2547    กลุ่มที่: 10

อาจารย์ที่ปรึกษา: สมภพ ประธานธุรารักษ์ , ปรีชา มนทกานติกุล , ศรันย์ กอสนาน , สิรินทร ฉันศิริกาญจน์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์

Keyword: ผลิตภัณฑ์สมุนไพร, ผู้สูงอายุ, ปฏิกิริยาระหว่างสมุนไพรกับยาแผนปัจจุบัน, herbal product, elderly, herb drug
บทคัดย่อ:
ผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีแนวโน้มที่จะใช้ยามากกว่าคนในวัยอื่นๆ นอกเหนือจากการใช้ยาแผนปัจจุบันแล้วผู้สูงอายุบางคนอาจมีการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรร่วมด้วย โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรของผู้สูงอายุ และศึกษาโอกาสที่จะเกิดปฏิกิริยาระหว่างผลิตภัณฑ์สมุนไพรกับยาแผนปัจจุบันในผู้สูงอายุ โดยการสัมภาษณ์ผู้ป่วยนอกที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปในคลินิกผู้สูงอายุโรงพยาบาลรามาธิบดี จํานวน 100 คน ระหว่างเดือนสิงหาคมถึงกันยายน พ.ศ.2547ผลการสํารวจพบว่า ร้อยละ 59 ไม่เคยใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ร้อยละ 26 เคยใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรแต่ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว และร้อยละ 15 ที่ใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรอยู่ในปัจจุบัน ในจํานวนผู้ สูงอายุ 15 คน ที่ใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรทั้งหมดใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรร่วมกับยาแผนปัจจุบัน และในจํานวนนี้มีเพียงร้อยละ 33 ที่บอกแพทย์ว่าใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรอยู่ ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ใช้โดยผู้สูงอายุ ได้แก่โสม กระเทียม กวาวเครือขาว ขมิ้นชัน ขิง แป๊ะก๊วย ฟ้าทะลายโจร มะขามแขก ว่านหางจระเข้ ยาประสะมะแว้ง และเส้นใยอาหาร พบปฏิกิริยาระหว่างผลิตภัณฑ์สมุนไพรกับยาแผนปัจจุบันที่อาจจะเกิดในผู้สูงอายุ 2 ราย ได้แก่ แป๊ะก๊วยกับไฮโดรคลอโรไทอะไซด์และกระเทียมกับแอสไพริน จากผลการสํารวจร้อยละ 13 ของผู้ตอบแบบสอบถามที่ใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรร่วมกับยาแผนปัจจุบันมีโอกาสที่จะเกิดปฏิกิริยาระหว่างผลิตภัณฑ์สมุนไพรกับยาแผนปัจจุบัน บุคลากรทางการแพทย์ควรติดตามเฝ้าระวังการเกิดปฏิกิริยาระหว่างผลิตภัณฑ์สมุนไพรกับยาแผนปัจจุบัน และให้ข้อมูลการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่เหมาะสมแก่ผู้สูงอายุ
abstract:
The elderly is population consisting of frequent users of both herbal products and conventional drug therapy. The objective of this special project was to determine the prevalence of herbal products used by elderly aged 60 years and older attending a clinic for elderly at Ramathibodi Hospital. We also evaluated the frequency of potential interactions between herbal products and conventional drug therapies. We interviewed 100 outpatients between August and September 2004. The patients were asked to bring to their appointment all herbal products. Conventional drug therapies were found out from patient’s profiles. Of the 100 patients, 59% were never users, 26% past users and 15% current users of herbal products. All current users took herbal products in combination with conventional Drugs. Only 33% of those informed their physician of such use. The used herbal products were Panax gingseng, Allium sativum, Pueraria candollei var. mirifica, Curcuma longa, Zingiber officinale, Ginkgo biloba, Andrographis paniculata, Senna alexandrina, Aloe vera, Ya Prasa Mawaeng, and Dietary fiber. Among the 15 current users, we identified 2 potential herb-drug interaction in 2 patients. The herb-drug interactions we identified were between Ginkgo biloba and HCTZ and Allium sativum and aspirin. About 13% of current users of herbal products were at risk of herb-drug interaction. Therefore, healthcare providers should be aware of potential herb-drug interaction and should monitor and inform their patients accordingly.
.