การสำรวจการยอมรับและความคิดเห็นของเภสัชกรต่อการศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์

โดย: นส.พัชราภรณ์ เยี่ยมสวัสดิ์, นส.วีนัส ชุติมานิตกุล    ปีการศึกษา: 2546    กลุ่มที่: 10

อาจารย์ที่ปรึกษา: มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์ , ปรีชา มนทกานติกุล    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: การศึกษาต่อเนื่อง, การต่ออายุใบประกอบโรคศิลปะ, การประกันคุณภาพ , Continuing Education, Relicensing, Pharmacist
บทคัดย่อ:
การวิจัยนี้เป็นการสำรวจการยอมรับและความคิดเห็นของเภสัชกรต่อระบบการศึกษาต่อเนื่องเมื่อใช้เป็นเงื่อนไขสำหรับการต่ออายุใบประกอบโรคศิลปะและเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆเช่น เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตลอดจนรวบรวมข้อเสนอแนะของเภสัชกรต่อระบบการศึกษาต่อเนื่อง โดยส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ไปยังผู้ที่มีใบประกอบโรคศิลปะสาขาเภสัชกรรม จำนวน 924 คน จดหมายไม่ถึงผู้รับ 46 ฉบับ ได้รับการตอบกลับเป็นจำนวน 275 คน คิดเป็น ร้อยละ 31.32 โดยร้อยละ 62.2 ของผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 35 ปี ร้อยละ 74 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 41.2 เป็นเภสัชกรโรงพยาบาล สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับการศึกษาต่อเนื่อง พบว่าร้อยละ 61.3 เห็นด้วยที่จะใช้การศึกษาต่อเนื่องเป็นเงื่อนไขในการต่ออายุใบประกอบโรคศิลปะ โดยร้อยละ 53.8, และร้อยละ 47.8 มีความเห็นว่าการต่ออายุใบประกอบโรคศิลปะโดยใช้ระบบการศึกษาต่อเนื่องเป็นการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกร และทำให้ผู้ป่วยได้รับบริการที่มีคุณภาพมากขึ้น ตามลำดับ อย่างไรก็ตามร้อยละ 50.9 มีความเห็นว่าระบบการศึกษาต่อเนื่องจะก่อให้เกิดความยุ่งยากแก่เภสัชกร ร้อยละ 86.8 ของผู้ตอบแบบสอบถามเข้าใจกลวิธีในการสะสมหน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง โดยร้อยละ 67.6 เห็นว่าเกณฑ์ต่าง ๆ มีความเหมาะสม และร้อยละ 62.1 มีอุปสรรคในการเก็บสะสมหน่วยกิต สำหรับข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหา ได้แก่ เพิ่มกิจกรรมในการสะสมหน่วยกิตให้มากขึ้น (ร้อยละ 8.0) กำหนดเกณฑ์ต่างกันในแต่ละสาขาวิชาชีพหรืออายุ (ร้อยละ 5.5) และการปรับปรุงคุณภาพของระบบการศึกษาต่อเนื่อง (ร้อยละ 40.4) เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการศึกษาต่อเนื่องพบว่า อายุ และ เพศ มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับการศึกษาต่อเนื่องอย่างมีนัยสำคัญ โดยพบว่า เพศชาย และ อายุมีความสัมพันธ์ในทางลบต่อการยอมรับการศึกษาต่อเนื่อง ในขณะที่สาขาการประกอบวิชาชีพ และ ระดับการศึกษาไม่มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับการศึกษาต่อเนื่อง
abstract:
This project was designed to survey Thai pharmacists’ acceptance and opinion regarding Continuing Education (CE), to examine the factors associated with the CE acceptance, and to summarize the suggestions of pharmacists regarding CE. Questionnaires were mailed to 924 licensed pharmacists. 46 questionnaires were returned due to incorrect addresses. The response rate was 31.32%. About 62.2%, 74%, and 41.2% of the respondents are female, received bachelor degree, and work as hospital pharmacists, respectively. Concerning the idea of relicensing by CE, 61.3% of pharmacists agreed to the idea of relicensing by CE. About 53.8% and 47.8% expressed that relicensing by CE would elevate the standard of pharmacy practice and would increase quality of patient care, respectively. However, 50.9% accepted that CE might result in the inconvenience for pharmacists. About 86.8% of pharmacists in this study clearly understood the method and process of the CE program. Approximately 67.6% expressed that the requirement was appropriate. However, 62.1% indicated having problems collecting credit. The suggested solutions are 1) to increase more activities for collecting credit (8.0%), 2) to use different requirement for different professional work area or age (5.5%), and 3) to improve quality of CE programs (40.4%). Moreover, 6.9% suggested that more information should be provided. When looking at the factors associated with the CE acceptance, being male and older age are negatively associated with the CE acceptance. On the other hand, area of professional work and education level do not relate to the acceptance regarding Continuing Education.
.