การพัฒนาตำรับครีม Coenzyme Q-10

โดย: อัชณา แก้วประดิษฐ์,อัญญรัตน์ รักษายศ    ปีการศึกษา: 2543    กลุ่มที่: 10

อาจารย์ที่ปรึกษา: พรรณวิภา กฤษฎาพงษ์ , มัณฑนา ภาณุมาภรณ์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: โคเอนไซม์คิวสิบ,ริ้วรอย,การเกิดรอยคล้ำ,ประสิทธิภาพ,การระคายเคือง,รังสีUVA,
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาตำรับครีมโคเอนไซม์คิวสิบ ที่มีคุณสมบัติลดริ้วรอยและลดการเกิดรอยคล้ำ โดยทำการศึกษาคุณสมบัติของโคเอนไซม์คิวสิบและพัฒนาตำรับครีมพื้น 4 ตำรับ ทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพ เช่น ความเป็นกรดด่าง ชนิดของอีมัลชั่น ทดสอบความคงตัวทางกายภาพ เตรียม 0.3%โคเอนไซม์คิวสิบในครีมพื้นที่คงตัว ทดสอบการระคายเคืองบนผิวหนัง ในอาสาสมัครหญิงสุขภาพดี อายุ 19-23 ปี จำนวน 6 ราย และทดสอบประสิทธิภาพในการลดริ้วรอยที่บริเวณหางตา ในอาสาสมัครหญิงสุขภาพดี อายุ 28 - 48 ปี จำนวน 12 รายเป็นเวลา 4 สัปดาห์ วัดริ้วรอยที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยเครื่อง SKIN VISIOMETER SV500 ทดสอบประสิทธิภาพในการลดการเกิดรอยคล้ำจากแสง UVA ที่ผลิตจากเครื่อง MUTZHASS MODEL UVASUN 3000 unit ในอาสาสมัครชายสุขภาพดี อายุ 20-22 ปี จำนวน10 ราย ณ ภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โดยให้อาสาสมัครทายาเป็นเวลา 7 วัน, 3 วัน ทุกวัน วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น และ 30 นาที ก่อนฉายรังสี UVA วิเคราะห์ผลต่างโดยใช้ pair t-test ที่ alpha = 0.05 ผลการทดลองพบว่าครีมพื้นตำรับที่ 2 ซึ่งมีความเป็นกรดด่าง 6.08 เป็นชนิด o/w และไม่แยกชั้นเมื่อทดสอบความคงตัวทั้งโดยวิธี freeze and thaw cycling และ เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องนาน 4 สัปดาห์ รวมทั้งไม่ทำให้อาสาสมัครเกิดอาการระคายเคืองที่ผิวหนัง ค่าความแตกต่งความหยาบของผิวหนังบริเวณหางตาเมื่อทาครีมยาและครีมพื้น ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.33) ผลการเกิดรอยคล้ำเมื่อฉายรังสี UVA บริเวณที่ทายา 7 วัน, 3 วัน และ 30 นาที เมื่อเทียบกับผิวหนังเปล่า พบว่าเมื่ออ่านผลทันทีและอ่านผลที่ 2 ชั่วโมง หลังการฉายรังสี UVA มีรอยคล้ำของผิวหนังแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นผลของบริเวณที่ทายา 30 นาทีก่อนฉายรังสี UVA เมื่ออ่านผลทันที ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ( อ่านผลทันที p = 0.06,0.007 และ 0.003 อ่านผลที่ 2 ชั่วโมง p = 0.002,0.004 และ 0.02 ตามลำดับ )
abstract:
Co-enzyme Q10, Wrinkle, Pigmentation, Efficacy, Irritation, UVA radiation The objective of this special project to develop of 0.3% w/w coenzyme Q10 cream which has both antiwrinkle and skin pigment reduction properties . Physico- chemical property of the drug were searched .Four cream bases were developed and their property such as pH , type of emulsion and phase separation were tested.0.3% by weight of coenzyme Q10 was incorporated in the stable and acceptable cream base.Skin irritation test was done in 6 healthy female volunteers age 19-23 .The medicinal cream and base were separately applied to the corner of the eyes of 12 healthy female volunteer age 28-48.Roughness of the skin were measured at week 0 and week 4 using VISIOMETER SV500.The efficacy of the medicinal cream in reducing skin pigmentation was also tested at the back of 10 healthy male volunteer age 20-22 at Division of Dermatology, Department of MedicineSiriraj Hospital.The medicinal cream was applied on the skin for 7,3 days twice daily morning and evening and 30 minutes before expose to UVA radiation produce from Mutzhass Model UVASUN 3000 unit.Results were analysed by pair t -test with alpha =0.05.It was found that the medicinal cream Rx 2 which has pH 6.08,o/w type,was not separated over 4 weeks period at room temperature and 6 cyclings of freeze and thaw.They were no sign of skin irritation on volunteers" forearms. The result of skin roughness between using the medicinal cream and cream base were insignificant difference p=0.33.Both immediate and at 2 hours result of the medicinal cream in reducing skin pigmentation on the skin area of 7,3 days and 30 minute application are significantly different from the control except at 30 minute of immediate result are insignificantly
.