การศึกษา bioactivities ของผลมะม่วงหิมพานต์ |
โดย: นางสาวพศิกา ปรีดิวิสุทธิ์, นางสาวอรณิชา จันทร์วัฒนอุดม ปีการศึกษา: 2560 กลุ่มที่: 1 อาจารย์ที่ปรึกษา: ปิยทิพย์ ขันตยาภรณ์ , กฤษณ์ ถิรพันธุ์เมธี ภาควิชา: ภาควิชาจุลชีววิทยา Keyword: ผลเทียมมะม่วงหิมพานต์ ฤทธิ์ต้านจุลชีพ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดส ความเป็นพิษต่อเซลล์ , Cashew apple, Anacardium occidentale, antimicrobial activity, antioxidant activity, alpha-glucosidase inhibitor activity, cytotoxicity activity. |
บทคัดย่อ: มะม่วงหิมพานต์เป็นพืชที่ได้รับความนิยมในการปลูกมากในจังหวัดทางตอนใต้ของประเทศไทย โดยส่วนที่เหลือทิ้งเป็นจำนวนมากจากการเพาะปลูกคือ ผลเทียม โดยโครงการพิเศษนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาฤทธิ์ต่างๆ ของผลเทียมของมะม่วงหิมพานต์ โดยส่วนของผลเทียมของมะม่วงหิมพานต์จะถูกนำมาสกัดแยกเป็นสารสกัดน้ำ 70% เอทานอล เอธิลอะซีเตท และไดคลอโรมีเทน โดยสารสกัดทั้งสี่ชนิดจะถูกนำมาทดสอบหาฤทธิ์ต้านจุลชีพ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดสและทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ โดยการศึกษาฤทธิ์ต้านจุลชีพใช้วิธี broth microdilution ในแบคทีเรียแกรมบวก แบคทีเรียแกรมลบ และแบคทีเรียไม่ใช้อากาศ พบว่าสารสกัด 70% เอทานอลสามารถต้านแบคทีเรียที่ใช้ทดสอบได้มากที่สุด ในขณะที่เอธิลอะซีเตทและไดคลอโรมีเทนไม่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียที่ใช้ทดสอบ การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธีดีพีพีเอช พบว่าทุกสารสกัดมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระน้อยกว่าสารมาตรฐานวิตามินซี (IC50 เท่ากับ 64.4 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร) โดยพบว่าสารสกัด 70% เอทานอลมีค่า IC50 เท่ากับ 296.2 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร การศึกษาฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดสพบว่าสารสกัดจาก 70% เอทานอลมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดสมากที่สุด รองลงมาคือ เอธิลอะซีเตท และไดคลอโรมีเทน ตามลำดับ โดยมี IC50 เท่ากับ 56.40 64.45 และ 116.63 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ ซึ่งทั้งสามสารสกัดมีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูโค-ซิเดสสูงกว่าสารมาตรฐานอะคาโบส ซึ่งมี IC50 เท่ากับ 457.83 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ในขณะที่สารสกัดน้ำไม่มีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดส ในส่วนความเป็นพิษต่อเซลล์ จากผลการทดลองยังไม่สามารถสรุปได้ว่าสารสกัดจากผลเทียมของมะม่วงหิมพานต์มีผลต่อการรอดชีวิตของเซลล์ จึงควรทำการศึกษาเพิ่มเติม |
abstract: Cashew tree is very popular and often cultivated plant in Southern part of Thailand. Cashew apple is often left over as agricultural waste. Therefore, the objective of this special project is to investigate the bioactivities of cashew apple. Cashew apple was extracted using water, 70% ethanol, ethyl acetate and dichloromethane. All extracts were determined antimicrobial activity, antioxidant activity, alpha glucosidase inhibitor and cytotoxic activity. In this study, antimicrobial activity of cashew apple extracts were determined by broth microdilution method against Gram positive, Gram negative and anaerobic bacteria. Only 70% ethanol extract of cashew apple showed antimicrobial activity whereas water, ethyl acetate and dichloromethane extracts of cashew apple did not exhibit antimicrobial activity. The antioxidant activity was determined by DPPH method. All cashew apple extracts showed antioxidant activity less than vitamin C (IC50 = 64.4 µg/mL). Ethanol extract showed highest antioxidant activity with IC50 value of 296.23 µg/mL. Ethanol extract also exhibited high activity of alpha-glucosidase inhibitor with IC50 value of 56.40 µg/mL, followed by ethyl acetate and dichloromethane extracts with IC50 value of 64.45 and 116.63 µg/mL, respectively. All cashew extracts except water extract exhibited lower IC50 values than standard substance or acarbose (IC50 = 457.83 µg/mL). However, the results from cytotoxic assay of cashew apple extracts were inconclusive and would require further experiment. |
. |