ผลของเครื่องดื่มสมุนไพรต่อการออกฤทธิ์ของยาต้านจุลชีพ

โดย: น.ส.กุลวดี ชูชะเอม , น.ส.สุวเนตร์ มงคลการ    ปีการศึกษา: 2556    กลุ่มที่: 1

อาจารย์ที่ปรึกษา: แม้นสรวง วุฒิอุดมเลิศ    ภาควิชา: ภาควิชาจุลชีววิทยา

Keyword: สารสกัดสมุนไพร, ยาต้านจุลชีพ, การเสริมฤทธิ์และการต้านฤทธิ์, วิธี Broth dilution,, Herbal extract, Antimicrobial drugs, Synergism and antagonism activity, Broth dilution -method,Checkerboard method
บทคัดย่อ:
น้าสมุนไพรเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับการยอมรับในชีวิตประจาวันของประชาชนอย่างแพร่หลาย จากความเชื่อในผลของการเสริมสุขภาพ จากการที่สมุนไพรประกอบด้วยสารต่างๆ หลายชนิดที่ยังไม่สามารถระบุประเภทและการออกฤทธิ์ได้ชัดเจน ขณะที่บางชนิดได้รับการบันทึกถึงความสามารถในการล้างพิษ ดังนั้นการดื่มน้าสมุนไพรในชีวิตประจาวันในช่วงที่มีการใช้ยาต้านจุลชีพ อาจส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค โครงการพิเศษนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอันตรกิริยาระหว่างน้าสมุนไพรและยาต้านจุลชีพ โดยสมุนไพรที่นามาศึกษาได้แก่ กระเจี๊ยบแดง (Hibiscus sabdariffa L.) เก๊กฮวย (Chrysanthemum indicum L.) มะตูม (Aegle marmelos (L.) Correa ex Roxb.) และลาไย (Dimocarpus longan Lour) เพื่อศึกษาผลกระทบในการออกฤทธิ์ของ Ampicillin ต่อ Bacillus cereus, Escherichia coli, Pseudomonas aeruginosa, Salmonella typhi และ Staphylococcus aureus และ Ketoconazole ต่อ Candida albicans โดยทดสอบด้วยวิธี checkerboard titration แสดงความแตกต่างของฤทธิ์ยาต้านจุลชีพ จากค่า Minimum Bactericidal Concentration (MBC) ต่อเชื้อทดสอบ ทั้งก่อนและหลังเมื่อมีสมุนไพรผสมอยู่ด้วย การทดลองฤทธิ์ต้านเชื้อทดสอบจาก Ampicillin และ Ketoconazole เมื่อมีน้าสมุนไพรกระเจี๊ยบแดง, เก๊กฮวย, มะตูม และลาไย ผสมอยู่ด้วย ผลที่ได้เป็นไปในแนวทางเดียวกันเมื่อใช้ค่า MBC เป็นดัชนี คือ การออกฤทธิ์ของ Ampicillin ต่อ S. aureus, S. typhi และ Ketoconazole ต่อ C. albicans มีค่า MBC ที่สูงขึ้น นั่นคือต้องการยาเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวจึงได้ผลจาก Ampicillin และ Ketoconazole เท่าเดิมเมื่อไม่มีสารสมุนไพรกระเจี๊ยบแดง, เก๊กฮวย และลาไย ผสมอยู่ด้วย
abstract:
The recognition of herbal drink in daily life is widely accepted from the belief of health supplements. While numerous herbal ingredients are still unidentified and their activities are not clarified, some have been recorded for its detoxification efficacy. Therefore, the everyday herbal drink might interfere the effect of the antimicrobial drug. This project was targeted to study the interaction of the herbal drink and antimicrobial drug. The herbs used in this study were Hibiscus sabdariffa L, Chrysanthemum indicum L, Aegle marmelos (L.) Correa ex Roxb and Dimocarpus longan Lour. They were studied for their intervention exerted on the action of Ampicillin on Bacillus cereus, Escherichia coli, Pseudomonas aeruginosa, Salmonella typhi and Staphylococcus aureus, and Ketoconazole to Candida albicans. By the use of the checkerboard titration, the differences of Minimum Bactericidal Concentration (MBC) obtained from the drug activities before and after each herb was added to the test drug indicated the antagonistic, synergistic effect or no correlated activity between herb and drug used. The results revealed that the activity of Ampicillin when each herb was mixed gave the increase of MBC on S. aureus, S. typhi and MFC of ketoconazole on C. albicans. The increased MBC/MFC pointed out that when herbs were mixed together with drugs, twice amount of drug was required to obtain the similar activity from the previous used.
.