การประเมินคุณภาพของสารสำคัญที่แยกจากเปลือกมังคุดที่มีฤทธิ์ทางเภสัชศาสตร์ชีวภาพต่อเซลล์มะเร็ง

โดย: ธัญชนิต ไทยพิทักษ์วงศ์, พาณิภัค ภูมิวัฒน์    ปีการศึกษา: 2554    กลุ่มที่: 1

อาจารย์ที่ปรึกษา: ปริ่มเฉนียน มุ่งการดี , แม้นสรวง วุฒิอุดมเลิศ    ภาควิชา: ภาควิชาจุลชีววิทยา

Keyword: มังคุด, ฤทธิ์ต้านการแบ่งตัวของเซลล์เต้านม, การประเมินคุณภาพทางจุลชีววิทยา, Antiproliferative effect, Mangosteen, Microbiological tests
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้ประกอบด้วยการศึกษาวิจัย 3 ส่วน ส่วนแรก การสกัดแยกสารบริสุทธิ์จากสารสกัดหยาบเปลือกมังคุดด้วยวิธี silica gel column chromatography ซึ่งแยกได้สารบริสุทธิ์ทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่ สารตัวอย่าง A, E และ CD1 โดยสามารถพิสูจน์เอกลักษณ์ของสารต่างๆเบื้องต้นจากการตรวจสอบด้วยโครมาโทกราฟีแบบชั้นบาง (Thin Layer Chromatography) ได้ว่า สารตัวอย่าง E และ CD1 เป็น α-mangostin และ β-mangostin ตามลำดับ ในขณะที่สารตัวอย่าง A กำลังอยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบเอกลักษณ์โดย Nuclear magnetic resonance ส่วนที่สอง การประเมินฤทธิ์ในการต้านการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งเต้านม (SKBR3) ของสารสกัดหยาบและสารบริสุทธิ์ที่สกัดได้โดยใช้ MTT assay พบว่าสารสกัดหยาบและสารตัวอย่าง A, E และ CD1 มีค่า ED50 ดังนี้ 37.79, มากกว่า 400, 7.03 และ 232.55 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสารตัวอย่าง E มีฤทธิ์ต้านการแบ่งตัวของ SKBR3 สูงที่สุด แต่สารตัวอย่างอื่นๆไม่มีฤทธิ์ดังกล่าว ส่วนที่สาม การประเมินคุณภาพทางจุลชีววิทยาของผงจากเปลือกมังคุดแห้งและสารสกัดหยาบ โดยใช้เกณฑ์มาตรฐานที่ระบุใน Thai Herbal Pharmacopoeia 2010 นอกจากนี้ได้ใช้วิธีการทดสอบโดย immunochromatographic assay ที่พัฒนาขึ้นโดยภาควิชาจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สำหรับตรวจสอบเชื้อ Salmonella spp. ร่วมด้วย ซึ่งพบว่าสารตัวอย่างไม่มีการปนเปื้อนเชื้อก่อโรค ผลจากการศึกษาวิจัยครั้งนี้แม้จะแสดงให้เห็นว่าสารตัวอย่าง E เพียงชนิดเดียวที่มีฤทธิ์ต้านการแบ่งตัวของ SKBR3 อย่างไรก็ตามสารที่สกัดได้หล่านี้อาจมีฤทธิ์ทางเภสัชศาสตร์ชีวภาพในด้านอื่นๆที่น่าสนใจอีกมากมายที่ควรได้รับการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
abstract:
The study consisted of 3 parts. The first part was the division of purified substances from crude mangosteen peel extract by silica gel column chromatography into three parts obtained from fractions A, E and CD1. Fraction E and CD1 were identified as α-mangostin and β-mangostin, respectively, by thin layer chromatography, whereas fractions A is in process for structure elucidation by nuclear magnetic resonance. The second part was the investigation of antiproliferative effect of crude extract and the 3 purified isolated against human breast cancer cell line (SKBR3), using paclitaxel as a positive control. This effect was evaluated by MTT assay. The ED50 of the ethyl acetate crude extract of fractions A, E and CD1 was 37.79, >400, 7.03 and 232.55 µg/mL, respectively, so only fraction E had antiproliferative effect on SKBR3. The final part was the determination of the possibility of the microbial contamination in grinded mangosteen peel and its crude extract, followed the standard method in Thai Herbal Pharmacopoeia 2010. Additionally, immunochromatographic assay developed in the Department of Microbiology, Faculty of Pharmacy, Mahidol University, was also included to detect the contimination of Salmonella spp. All of the mangosteen samples showed the absence of pathogenic microorganisms. In conclusion, only fraction E had antiproliferative effect, and purified fractions A and CD1 showed no activity on human breast cancer cell line, but other interesting biopharmaceutical activities should be future investigated.
.