ฤทธิ์ต้านพยาธิของสารสกัดสมุนไพรในหลอดทดลอง |
โดย: ถิรวัฒน์ รายรัตน์, ก้องสินธุ์ เหลืองเรืองรอง ปีการศึกษา: 2553 กลุ่มที่: 1 อาจารย์ที่ปรึกษา: แม้นสรวง วุฒิอุดมเลิศ , วันดี กฤษณพันธ์ , วารุณี เงินงามเลิศ ภาควิชา: ภาควิชาจุลชีววิทยา Keyword: สารสกัดสมุนไพร, ฤทธิ์ต้านพยาธิ, Necator americanus, อัลเบนดาโซล, Herbal extracts, Antinematodal effect, Necator americanus, Albendazole |
บทคัดย่อ: สมุนไพรประกอบด้วยส่วนประกอบที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพหลายชนิด สามารถนำมาใช้เป็นยาทางเลือกสำหรับต้านพยาธิ โครงการพิเศษนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาสมุนไพรที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งการฟักไข่ของพยาธิ โดยคัดเลือกสมุนไพร 6 ชนิด ที่มีบันทึกในการใช้กับโรคพยาธิ ได้แก่ ปรู๋ (Alangium salviifolium ssp. Hexapetalum Wang.), หมาก (Areca catechu Linn.), ชุมเห็ดเทศ (Cassia alata Linn.), สะแก (Combretum quadrangulare Kurz.), ทับทิม (Punica granatum Linn.), เล็บมือนาง (Quisqualis indica Linn.) มาสกัดด้วยวิธี reflux โดยใช้น้ำและ 70% ethanol เป็นตัวทำละลาย หลังจากนำไประเหยจนได้สารสกัดแห้งจึงนำสารสกัดมาทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการฟักไข่ของ Necator americanus ด้วยวิธี Egg Hatch Assay (EHA) โดยเปรียบเทียบกับฤทธิ์ยา albendazole ผลจากการนับจำนวนตัวอ่อนพยาธิที่ฟักออกมาจากไข่ นำมาคำนวณหาร้อยละของการยับยั้งการฟักไข่ (% inhibition) และเลือกสารสกัดสมุนไพรที่มีฤทธิ์ดีที่สุดมาหาค่า IC50 ด้วยวิธี EHA เช่นเดียวกัน จากผลการทดลองพบว่า สารสกัดน้ำของแก่นปรู๋ มีผลยับยั้งการฟักตัวของไข่พยาธิปากขอสูงที่สุด โดยมีค่าการยับยั้งการฟักไข่เท่ากับร้อยละ 38 อย่างไรก็ตาม เมื่อทดสอบหาค่า IC50 ด้วยวิธี EHA ปรากฏว่าภายในระยะเวลาที่ใช้ทำการทดลอง ยังไม่สามารถหาค่า IC50 ได้ การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดน้ำจากแก่นปรู๋ ให้ข้อสรุปเบื้องต้นถึงฤทธิ์การยับยั้งการฟักตัวของไข่พยาธิปากขอ ดังนั้น จึงควรทำการวิเคราะห์สารสกัดจากพืชชนิดอื่น รวมทั้งการปรับใช้ปริมาณสารสกัดที่เข้มข้นขึ้น การเปลี่ยนสภาวะที่ใช้ทดสอบโดยควบคุมตัวแปรต่างๆ หรือวิธีการสกัดสมุนไพรที่ต่างออกไป เพื่อนำมาทำการวิเคราะห์ต่อไป |
abstract: Medicinal herbs comprise of many potential bioactive components that can be used as an alternative natural medicine for antiparasitic activity. This special project aims to screen for medicinal herbs with the antinematodal activity. According to Thai traditional records, six Thai herbs that were revealed medicinal effects against parasitic infections, namely, Alangium salviifolium spp. Hexapetalum Wang., Areca catechu Linn., Cassia alata Linn., Combretum quadrangulare Kurz., Punica granatum Linn., and Quisqualis indica Linn., were selected and processed through extraction by refluxing with sterile water and with 70% ethanol. The concentrated extracts were tested by Egg Hatch Assay (EHA) against egg suspension of Necator americanus compared with activity of albendazole. The herb with the best anti-hatching activity was subjected to further test for IC50. The aqueous extract of A. salviifolium gave the substantial result at 38% of inhibitory effect. However, after the EHA-IC50 experiments, due to time constraint of the project, no explicit outcome demonstrated. Preliminary study of the antiparasitic activity of A. salviifolium aqueous extract leads to investigation of other interesting herbs by increasing of extract volume, modification of test conditions with adequate control of possible variations, or by the use of other extraction methods to investigate the anti-parasitic activity. |
. |