การศึกษาผลของการให้ยาปฏิชีวนะร่วมกันต่อประสิทธิภาพการต้านเชื้อซูโดโมแนส แอรูจิโนซาที่ดื้อต่อยากลุ่มคาร์บาพีเนมส์

โดย: นางสาวทิฆัมพร เอื้อวิเศษวงศ์, นางสาวพิมลกานท์ เกษมวัฒนาโรจน์    ปีการศึกษา: 2552    กลุ่มที่: 1

อาจารย์ที่ปรึกษา: มัลลิกา ชมนาวัง , ปรีชา มนทกานติกุล    ภาควิชา: ภาควิชาจุลชีววิทยา

Keyword: การให้ยาปฏิชีวนะร่วมกัน, ซูโดโมแนส แอรูจิโนซา, คาร์บาพีเนมส์, เชคเกอร์บอร์ด, drug combinations, Pseudomonas aeruginosa, carbapenems, checkerboard
บทคัดย่อ:
โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลทางห้องปฏิบัติการของการใช้ยาปฏิชีวนะกลุ่มคาร์บาพีเนมส์ คือ อิมิพีเนม เมโรพีเนม และดอริพีเนม ร่วมกับยาต้านซูโดโมแนสกลุ่มอื่นๆ เช่น เซฟตาซิดีม เซฟโฟเพอราโซน ซิโปรฟลอกซาซิน อะมิกาซิน พิเพอราซิลิน/ทาโซแบคแตม ฟอสโฟไมซิน และโคลิสติน ที่มีต่อประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อซูโดโมแนส แอรูจิโนซา ที่ดื้อต่อยากลุ่มคาบาร์พีเนมส์ เนื่องจากคาบาร์พีเนมส์เป็นกลุ่มยาที่ถูกเลือกใช้เป็นอันดับต้นๆในการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อในโรงพยาบาล แต่แนวโน้มการดื้อยาในกลุ่มนี้มีสูงขึ้น ดังนั้นการใช้ยาปฏิชีวนะร่วมกันจึงอาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาผู้ป่วย ซึ่งเชื้อที่ใช้ในการทดลองนำมาจากโรงพยาบาลในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ 9 แห่ง จำนวน 57 สายพันธุ์ โดยการทดลองใช้วิธีเชคเกอร์บอร์ด พบการเสริมฤทธิ์กันของยาเมื่อให้ยาร่วมกัน คือ เมโรพีเนมร่วมกับอะมิกาซินจากเชื้อ 1 สายพันธุ์ และพบการต้านฤทธิ์กันของเมโรพีเนมเมื่อให้ร่วมกับเซฟตาซิดีม และอิมิพีเนมเมื่อให้ร่วมกับ เซฟตาซิดีมอีก 1 สายพันธุ์ และในการทดสอบพบการเพิ่มฤทธิ์เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งการใช้ยาปฏิชีวนะเมโรพีเนมร่วมกับอะมิกาซินให้ค่าดัชนีสัดส่วนความเข้มข้นในการยับยั้งเชื้อ (FICI) เฉลี่ยน้อยที่สุด คือ 1.25±0.50 และการใช้ยาปฏิชีวนะเมโรพีเนมร่วมกับเซฟตาซิดีม ให้ค่า FICI เฉลี่ยมากที่สุด คือ 4.13±3.04 ถึงแม้ว่าในการศึกษาครั้งนี้จำนวนสายพันธุ์ที่นำมาทดลองจะไม่เพียงพอที่จะเป็นตัวแทนในการประเมินในทางสถิติ แต่ก็ทำให้ทราบว่าการใช้ยาเมโรพีเนมร่วมกับอะมิกาซิน มีแนวโน้มที่จะยับยั้งเชื้อได้ดีกว่ายาคู่อื่นหรือการใช้ยาเพียงชนิดเดียว
abstract:
The purpose of this study is to determine the in vitro effect of double combination of carbapenems which are imipenem, meropenem, and doripenem with other anti-pseudomonal agents such as ceftazidime, cefoperazone, ciprofloxacin, amikacin, piperacillin/tazobactam, fosfomycin, and colistin against carbapenem-resistant Pseudomonas aeruginosa (CR-PA) clinical isolates. Known for many years, carbapenems is one of the most effective empirical treatment drugs against nosocomial infection but the incidence of carbapenem-resistant is increasing among P. aeruginosa isolates. Therefore, anti-pseudomonal combination may be an alternative for the treatment. This study selected 57 CR-PA clinical isolates from 9 hospitals in Thailand. All combinations were determined synergistic effect by the checkerboard method. According to the fractional inhibitory concentration index (FICI), there was a synergism between meropenem with amikacin of one CR-PA strain and antagonisms between meropenem with ceftazidime and imipenem with ceftazidime of another strain. It was noteworthy that most combinations demonstrated the additive effect. The result showed that the minimum mean of FICI was 1.25±0.50 (meropenem-amikacin) and the maximum mean of FICI was 4.13±3.04 (meropenem-ceftazidime). Despite the limitation of this study in inadequate sample strains to evaluate significant statistical result, these data suggested that meropenem and amikacin have shown enhanced activity against carbapenem-resistant P. aeruginosa which were better than used alone or other combinations.
.