สมุนไพรที่มีฤทธิ์ฆ่าลูกน้ำยุง

โดย: ดุษฏี ไชยธงรัตน์,เพ็ญพักตร์ เจนสารศาสตร์    ปีการศึกษา: 2545    กลุ่มที่: 1

อาจารย์ที่ปรึกษา: วิเชษฐ์ ลีลามานิตย์ , วงศ์สถิตย์ ฉั่วกุล    ภาควิชา: ภาควิชาชีวเคมี

Keyword: ยุงลาย, ฤทธิ์ฆ่าลูกน้ำยุง, Aedes aegypti, larvicidal activity
บทคัดย่อ:
การศึกษาเปรียบเทียบฤทธิ์ในการฆ่าตัวอ่อนระยะที่ 2 ของยุงลาย (Aedes aegypti) ของสารสกัดน้ำ 95% ethanol และ 95% ethanol:chloroform (1:1) จากพืช 13 ชนิด ซึ่งมีการศึกษาแล้วว่ามี larvicidal activity ต่อตัวอ่อนของแมลงบางชนิด พบว่าสารสกัดน้ำจากเมล็ดน้อยหน่า (Annona squamosa L.) เมล็ดมะระขี้นก (Momordica charantia L.) ใบเสี้ยวใหญ่ (Buahinia malabarica Roxb.) และใบเลี่ยน (Melia azedarach L.) ที่ระดับความเข้มข้น 2% w/v สามารถฆ่าลูกน้ำยุงภายในเวลา 48 ชั่วโมงได้ 100, 80, 80 และ 50% ตามลำดับ และสารสกัด 95% ethanol จากเมล็ดน้อยหน่า ใบน้อยหน่า และส่วนเหนือดินของผกากรอง (Lantana camara L.) ที่ระดับความเข้มข้น 0.4% w/v สามารถฆ่าลูกน้ำยุงภายในเวลา 48 ชั่วโมงได้ 100, 80 และ 60% ตามลำดับ เนื่องจากความเป็นพิษที่สูงมากของ 95% ethanol:chloroform (1:1) จึงไม่สามารถนำมาศึกษาเปรียบเทียบกับสารสกัดชนิดอื่นได้ นอกจากนั้นพบว่าสารสกัดจากหนาดใหญ่ (Blumea balsamifera (L.) DC.) กะเพรา (Ocimum tenuiflorum L.) ชุมเห็ดเทศ (Senna alata (L.) Roxb.) ขี้เหล็ก (Senna siamea (Lam.) Irwin & Barneby) พันงูเขียว (Stachytarpheta jamaicensis (L.) Vahl) หนอนตายหยาก (Stemona tuberosa Lour.) ดาวเรืองใหญ่ (Tagetes erecta L.) และรำเพย (Thevetia peruviana (Pers.) K. Schum.) มีฤทธิ์ในการกำจัดลูกน้ำยุงน้อยมากในความเข้มข้นที่ทดสอบ
abstract:
The water, 95% ethanol and 95% ethanol:chloroform (1:1) extracts from 13 species of medicinal plants used to study in larvicidal activity, were tested against second instar larvae of Aedes aegypti and compared. The result showed that the water extracts from Annona squamosa L. seeds, Momordica charantia L. seeds, Buahinia malabarica Roxb. leaves and Melia azedarach L. leaves (2% w/v), have killed 100, 80, 80, and 50% of larvae, respectively after exposure to the extracts for 48 hours. The 95% ethanol extracts from of Annona squamosa L. leaves and seeds, Lantana camara L. aerial part (0.4% w/v) have 100, 80 and 60% of larvicide, respectively. Whereas the 95% ethanol:chloroform (1:1) extracts could not be compared because of high toxicity itself. The extracts from Blumea balsamifera (L.) DC., Ocimum tenuiflorum L., Senna alata (L.) Roxb., Senna siamea (Lam.) Irwin & Barneby, Stachytarpheta jamaicensis (L.) Vahl, Stemona tuberosa Lour., Tagetes erecta L. and Thevetia peruviana (Pers.) K. Schum. have low larvicidal activity at the concentrations were tested.
.