การพัฒนาเจลเมมเบรนเพื่อการสมานแผล |
โดย: ทิพาพร ขวัญทิพย์,วีณา กุลอึ้ง ปีการศึกษา: 2541 กลุ่มที่: 1 อาจารย์ที่ปรึกษา: ปลื้มจิตต์ โรจนพันธุ์ , กอบธัม สถิรกุล ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม Keyword: , |
บทคัดย่อ: คอลลาเจนเป็นสาร Polypeptide ชนิดหนึ่งซึ่งมีปริมาณ 1 ใน 3 ของโปรตีน ในผิวหนัง, เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน, กระดูกและฟันของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังทุกชนิด จากการศึกษาพบว่า คอลลาเจนใช้ประโยชน์หลายทาง อาทิเช่น ใช้เป็น suture material ในการผ่าตัด heamostatic รักษา Diabetic foot ulcer อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีขั้นตอนทางชีววิทยาและอิทธิพลที่มีผลรบกวน healing process เช่น เพิ่ม DNA และ Hydroxyproline ใน cell culture explants หลังจาก 6 สัปดาห์ เป็นต้น ในการทดลองเป็นการศึกษา การพัฒนาคอลลาเจนเมมเบรน ที่ได้จากคอลลาเจน โดยใช้ บีต้า-chitosan เป็นสารช่วยยึดเกาะ ทดสอบหาความเข้มข้นที่เหมาะสมของคอลลาเจนและ Acetic acid และวิธีการที่เหมาะสมในการเตรียมเป็นเมมเบรน ซึ่งจากการทดลองพบว่า ส่วนผสมที่ดีที่สุดในการทำให้เกิดเป็นเมมเบรนที่ดีที่สุดคือ คอลลาเจน 4 g + บีต้า-chitosan 0.35 g + Acetic acid 0.2 N จากนี้ได้ทำการทดสอบ ผลที่ต่อการเปลี่ยนแปลงความหนาของเมมเบรนและทำการศึกษาคุณสมบัติในการสมานแผลต่อสัตว์ทดลอง โดยศึกษาความสามารถในการสมานแผลของแผ่นคอลลาเจนเมมเบรน ที่ได้มีการพัฒนาตำรับแล้ว ศึกษาในหนู Wistar rat โดยทำการทดลองแผลทั้งหมด 3 ชนิด คือ แผลเรียบ, แผลไม่เรียบ, แผลเย็บ การประเมินผลการทดลอง จะดูจากการสมานแผล, ความแห้งของแผล, การเกิดแผลเป็น และการอักเสบของแผล เป็นระยะเวลา 10 วัน จากผลการทดลองพบว่า แผ่นคอลลาเจนเมมเบรน มีผลต่อการสมานแผลได้ดี ซึ่งผลจากการทดลองนี้ควรจะมีการศึกษาและพัฒนารูปแบบทางเภสัชผลิตภัณฑ์ของแผ่นคอลลาเจนเมมเบรนเพื่อการสมานแผลต่อไป |
abstract: Collagen, polypeptide substance, is a kind of protein in the skin connective tissue, and teeth of the backvone animal as a haemostatic for the diabetic foot ulcer. Collagen passess the wound healing puoperty by increasing DNA and hydroxyporline in the cells of every culture cxplants after 6 weeks. This project is the development of collagen membrane. Various collagen and acetic acid concentration was incorporated to select the suitable concentration of collagen and acetic acid. And suitable procedure for producing the good membrane. The result showed that collagen 4 g + beta - chitosan 0.35 g + acetic acid 0.2 N was the suitable ratio. The properties of the obtained membrane were evaluated such as thickness and wound healing property of collagen membrane in male Wistar rat. The wounds were classified as follow: cut wound , lacerated wound , and suture wound. Evaluation was based on the completeness of healing, dryness. Of wound, and presentation of scar and exudate during 10 days observation. The results showed that collagen membrane had the wound healing effect. Therefore, future development of collagen membrane to pharmaceutical membrane for wound healing purpose is warranted. |
. |