ประสิทธิภาพของน้ำยาบ้วนปากจากสารสกัดลูกทับทิมสำหรับการฆ่าเชื้อในช่องปาก

โดย: ชื่นจิตร เจริญผล,ยุพา ชูศักดิ์แสงทอง    ปีการศึกษา: 2537    กลุ่มที่: 1

อาจารย์ที่ปรึกษา: อรุณี สาระยา , มาลิน จุลศิริ , อรพินท์ เติมวิชชาการ    ภาควิชา: ภาควิชาจุลชีววิทยา

Keyword: ,
บทคัดย่อ:
ในการตรวจสอบประสิทธิภาพของน้ำยาบ้วนปาก เตรียมจากสารสกัดแอลกอฮอล์ - น้ำจากเปลือกลูกทับทิม 0.8 % โดยให้ผู้มีสุขภาพช่องปากปกติและไม่ปกติ กลุ่มละ 10 คน ทำการบ้วนน้ำยาบ้วนปากดังกล่าวเป็นเวลา 30 วินาที สำหรับวิธีการทดสอบได้ตรวจปริมาณเชื้อในน้ำลายของกลุ่มคนเหล่านี้ ทั้งก่อนและหลังบ้วนน้ำยาบ้วนปาก โดยการตรวจนับจำนวนเชื้อจากน้ำลายบนอาหารเลี้ยงเชื้อชนิดต่างๆ ได้แก่ Tryptic Soy Agar (TSA), Mitis Salivarius Agar (MSA) และ Rogosa SL Agar (RSA) โดยการบ่มเพาะที่ 37 องศาเซลเซียส ในบรรยากาศของคาร์บอนไดออกไซด์ ยกเว้นชุดของ TSA ซึ่งเพิ่มเติมการบ่มเพาะที่บรรยากาศปกติด้วย สำหรับกลุ่มควบคุมได้ทำการบ้วนด้วยน้ำเปล่าหลังจากการทดลองเปิดเผยว่า น้ำยาบ้วนปากสามารถลดปริมาณของเชื้อจากช่องปากของตัวอย่างทั้งสองกลุ่ม แต่เห็นเด่นชัดมากกว่าในผู้ที่มีสุขภาพช่องปากไม่ปกติ (P<0.05) โดยอัตราการลดลงของเชื้อทั้งหมดในช่องปาก ที่เจริญบนอาหารเลี้ยงเชื้อ TSA, MSA และ RSA หลังบ้วนด้วยน้ำยาบ้วนปากเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนบ้วน คิดเป็นร้อยละ 34-59 และ 50-76 ในกลุ่มตัวอย่างที่สุขภาพในช่องปากปกติ และไม่ปกติตามลำดับ สำหรับผลของน้ำเปล่า พบว่าปริมาณเชื้อไม่ลดลงในกลุ่มตัวอย่างที่มีสุขภาพในช่องปากปกติ ในขณะที่มีปริมาณเชื้อเจริญบน TSA ลดลงประมาณร้อยละ 33-55 ในกลุ่มตัวอย่างที่มีสุขภาพในช่องปากไม่ปกติ แต่ไม่มีผลลดเชื้อที่เจริญบน MSA และ RSA.
abstract:
The effectiveness of pomegranate mouthwash at 0.8% was studied in healthy and unhealthy oral cavity volunteers. Ten volunteers for each group were carried out. Their saliva was collected before and after using mouthwash. After dilution, the diluted saliva was spread on Tryptic Soy Agar (TSA), Mitis Salivarius Agar (MSA) and Rogosa SL Agar (RSA). The media were incubated under CO2 condition. An additional sample was spread on TSA and incubated under normal atmosphere. For control, water was applied. Results revealed that pomegranate mouthwash could reduce number of microorganism in saliva from unhealthy oral cavity significantly (p<0.05), while less extent upon microorganism in saliva from healthy oral cavity. For water, it has less effect in reduction of number of microorganism in saliva from oral cavity of both healthy and unhealthy oral cavity.
.