Loading…

เภสัชมหิดลรับการตรวจประเมินมาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ESPReL

1664 ครั้ง   21 มิถุนายน 2564
เมื่อวันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 09.00 น. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับการตรวจประเมินผลการดำเนินการโครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ESPReL โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ดวงดาว ฉันทศาสตร์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการ และ รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ. ปิยนุช โรจน์สง่า ประธานคณะกรรมการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการทางเคมี กล่าวชี้แจงเกี่ยวกับภาพรวมของห้องปฏิบัติการภายในคณะฯ ผ่านระบบออนไลน์ Cisco Webex Meetings ซึ่งจัดโดยคณะกรรมการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการทางเคมี หลังจากนั้น คณะกรรมการตรวจประเมิน ซึ่งนำโดย ผศ.ดร.โศรยา พรสุวรรณ และ ดร.คุณาภรณ์ หอมยก พร้อมคณะกรรมการ ได้เข้าตรวจประเมินห้องปฏิบัติการภายในคณะฯ ที่เข้าร่วมตรวจประเมินทั้งสิ้น 11 ห้องปฏิบัติการ เป็นระยะเวลา 2 วัน ระหว่างวันที่ 21-22 มิถุนายน พ.ศ. 2564 โดยคณะกรรมการตรวจประเมินและบุคลากรทุกคนได้ปฏิบัติตามมาตรการการเว้นระยะห่าง (Social Distancing) และสวมหน้ากากอนามัยตามนโยบายมหาวิทยาลัยมหิดล ทั้งนี้ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหน่วยงานด้านการศึกษาและวิจัย โดยมีภาควิชาที่มีการดำเนินงานวิจัยในห้องปฏิบัติการทั้งสิ้น 10 ภาควิชา โดยเฉพาะการดำเนินงานด้านการวิจัยทางเคมีที่มีความเสี่ยงค่อนข้างสูง ซึ่งหากไม่มีการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยที่ดีอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการของคณะฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ คณะฯ ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญในเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่ง จึงผลักดันให้มีการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในการดำเนินงาน โดยเข้ารับการตรวจประเมินผลการดำเนินการโครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ESPReL จากคณะผู้ตรวจประมินจากศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาวะแวดล้อมในการทำงาน (COSHEM) มหาวิทยาลัยมหิดล

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา