Loading…

พิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.สุวัฒนา จุฬาวัฒนทล

1461 ครั้ง   07 เมษายน 2564
เมื่อวันพุธที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2564 เวลา 15.30-16.45 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ และทรงพระราชทานพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมศพ เป็นเวลา 3 คืน ให้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.สุวัฒนา จุฬาวัฒนทล อดีตคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (วาระการดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 17 กันยายน 2559 – 16 กันยายน 2563) ซึ่งถึงแก่อนิจกรรมที่โรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อเช้าวันที่ 6 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา สิริอายุรวม 61 ปี 9 เดือน 18 วัน โดยพระราชทานให้ผู้แทนพระองค์อัญเชิญน้ำหลวงอาบศพ โดยมี นายประทีป จุฬาวัฒนทล เป็นประธานในพิธีรดน้ำหลวงอาบศพในครั้งนี้ ณ ศาลา 5 สีหโสภณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร บรรยากาศภายในงานนั้น ได้มีบุคคลสำคัญทางวงการเภสัชกรรม วงการการศึกษา คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษา ศิษย์เก่า ญาติสนิทมิตรสหาย และแขกผู้มีเกียรติมาร่วมแสดงความเสียใจกับครอบครัวและไว้อาลัยเป็นจำนวนมาก ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงคุณงามความดี คุณประโยชน์ และผลงานที่ รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.สุวัฒนา จุฬาวัฒนทล ได้มุ่งมั่นตั้งใจบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวมมาตลอดอาชีพการทำงานกว่า 38 ปี ทั้งนี้ กำหนดการสวดพระอภิธรรมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-11 เมษายน พ.ศ. 2564 เวลา 18.30-19.00 น. โดยสำนักพระราชวังเป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรมในวันที่ 7-9 เมษายน พ.ศ. 2564 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กำหนดเป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรมในวันที่ 10-11 เมษายน พ.ศ. 2564 มหาวิทยาลัยมหิดล กำหนดเป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรม ในวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2564 นอกจากนี้ ยังได้รับเกียรติจากองค์กรและกลุ่มบุคคลต่างๆ เข้าเป็นเจ้าภาพร่วมอีกจำนวนมาก สำหรับพิธีพระราชเพลิงศพกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2564 เวลา 16.00 น. ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร และเพื่อให้เป็นไปตามประสงค์ของ รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.สุวัฒนา จุฬาวัฒนทล และครอบครัว เงินบริจาคที่ได้รับจะนำไปสมทบทุนเพื่อสร้างหอพระพุทธมหามงคลเภสัช ณ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเป็นการกุศล รวมทั้งเพื่อรำลึกถึงคุณูปการและคุณงามความดีของ รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.สุวัฒนา จุฬาวัฒนทล ตลอดไป

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา