Loading…

เภสัชมหิดลร่วมกิจกรรมการนำเสนอโครงการวิจัยและโครงการพัฒนางานของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขจาก สปป.ลาว

1971 ครั้ง   12 มีนาคม 2564
เมื่อวันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 09.00-11.30 น. รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.อุษา ฉายเกล็ดแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.สมหญิง พุ่มทอง และอาจารย์ ดร.ภก.กฤษฎา ศักดิ์ชัยศรี เข้าร่วมรับฟังการนำเสนอโครงการวิจัยและโครงการพัฒนางานของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ภายใต้ ’โครงการฝึกอบรมเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขสำหรับบุคลากรทางการแพทย์จากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รุ่นที่ 23’ ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting โดยมี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ ที่ปรึกษางานโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นประธานในกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งจัดโดย สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สำนักพระราชวัง ในโอกาสนี้ คณาจารย์ของคณะฯ ได้ร่วมรับฟังการนำเสนอโครงการวิจัย เรื่อง ’ความรู้และพฤติกรรมในการใช้ยาต้านเชื้อ (Antibiotics) ด้วยตนเองในการรักษาอาการป่วยของประชาชน ในพื้นที่นครหลวงเวียงจันทน์ แขวงเชียงขวาง และแขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว’ ซึ่งเป็นโครงการวิจัยของผู้เข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรเภสัชศาสตร์ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.สมหญิง พุ่มทอง และอาจารย์ ดร.ภก.กฤษฎา ศักดิ์ชัยศรี เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการวิจัย นำเสนอโครงการโดย นางลัดดาพอน พูมะนีวง ทั้งนี้ โครงการฝึกอบรมเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขสำหรับบุคลากรทางการแพทย์จากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รุ่นที่ 23 จัดขึ้นผ่านระบบออนไลน์ ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 17 มีนาคม พ.ศ. 2564 โดยความร่วมมือของ 3 หน่วยงาน ได้แก่ 1) สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สำนักพระราชวัง 2) กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ และ 3) ส่วนงานต่างๆ ภายใต้มหาวิทยาลัยมหิดล

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา