Loading…

เภสัชมหิดลหารือความร่วมมือด้านการวิจัยกับ มจธ.

2068 ครั้ง   12 มีนาคม 2564
เมื่อวันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 09.00-15.00 น. ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.จุฑามณี สุทธิสีสังข์ รองอธิการบดีฝ่ายนโยบายและแผน พร้อมด้วย ผู้บริหารคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งนำโดย รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ดวงดาว ฉันทศาสตร์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม นำทีมคณาจารย์จากภาควิชาต่างๆ ของคณะฯ รวม 14 ท่าน เข้าเยี่ยมชมและหารือความร่วมมือด้านการวิจัย ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) โดยได้รับเกียรติจาก ดร.วรินธร สงคศิริ รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ให้การต้อนรับและนำเสนอผลงานวิจัยเด่นของ มจธ. ณ ห้องประชุมพินิจวิทัศน์ ชั้น 14 อาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ มจธ. ภายหลังจากนั้นจึงเป็นการเดินทางไปเยี่ยมชมหน่วยงานต่างๆ ภายใน มจธ. อาทิ ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อมาตรฐานและอุตสาหกรรม ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์และวิศวกรรมศาสตรเพื่อคำตอบของสังคม หน่วยวิจัย Neurosciences Center for Research and Innovation ศูนย์เชี่ยวชาญวิทยาศาสตร์เชิงทฤษฎีและการคำนวณ รวมทั้งการเยี่ยมชมงานวิจัยเด่นด้านการพัฒนา AI and Computational Methods for Drug Discovery และกลุ่มวิจัยพอลิเมอร์แบบยั่งยืนและวัสดุคอมโพสิตเชิงนวัตกรรม สำหรับกิจกรรมในช่วงบ่ายเป็นการประชุมหารือเกี่ยวกับโจทย์วิจัยระหว่าง คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อ Scale-up of Extraction Processes, Medical Materials, Frontiers Cognitive/Computational/Clinical Neurosciences Research, AI and Computational Methods for Drug Discovery ทั้งนี้ การเข้าเยี่ยมชมและหารือดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนและผลักดันให้เกิดความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างบุคลากรจากทั้งสองหน่วยงาน โดยการประยุกต์และผสานองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และเภสัชศาสตร์ รวมทั้งศักยภาพและความเป็นเลิศของบุคลากรจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมและเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการอันเป็นผลจากความร่วมมือด้านการวิจัยดังกล่าวในอนาคต

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา