Loading…

ภาควิชาเภสัชกรรมจัดประชุมวิชาการออนไลน์ เรื่อง Product Information Leaflet and Boxed Warnings (PIL-Box)

1979 ครั้ง   22 กุมภาพันธ์ 2564
ระหว่างวันที่ 22-24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยภาควิชาเภสัชกรรม จัดประชุมวิชาการออนไลน์ เรื่อง Product Information Leaflet and Boxed Warnings (PIL-Box) ผ่านระบบ Cisco Webex โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมและกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุมผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากคณาจารย์ภาควิชาเภสัชกรรมและวิทยากรภายนอก เป็นผู้บรรยายให้แก่ผู้เข้าร่วมการประชุม จำนวน 506 คน ซึ่งเป็นเภสัชกรและแพทย์จากโรงพยาบาล บริษัทยา และหน่วยงานด้านสาธารณสุขในระดับต่างๆ ของประเทศ โดยเนื้อหาการประชุมครอบคลุมการนำเสนอข้อมูลความสำคัญของฉลากยา (product information leaflet) บนผลิตภัณฑ์ยา อาทิ The Importance of Product Information Leaflet in Patient Safety, Key Warnings in Special Populations, Bye Bye Pregnancy Category in Drug Labeling! เป็นต้น ทั้งนี้ การประชุมวิชาการดังกล่าวยังถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ’ร่วมรำลึกและสืบสานปณิธาน 100 ปีชาตกาล อาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร (ผู้ก่อตั้งคณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล)’ โดยในการประชุมวิชาการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการประชุมมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของฉลากยาและการใช้ยา รวมทั้งคำเตือนชนิด black box warnings ในการรักษาโรคกลุ่มต่างๆ รวมถึงประเด็นความปลอดภัยที่สำคัญของยาในโรคที่พบบ่อย เพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจใช้ยาได้อย่างสมเหตุผลและปลอดภัย ตลอดจนสามารถจัดการ ติดตาม และเฝ้าระวังผู้ป่วยอย่างเหมาะสม เนื่องจากความปลอดภัยในการใช้ยานั้นนับเป็นหัวใจสำคัญของการบริบาลทางเภสัชกรรม การทราบข้อมูลด้านความปลอดภัยที่สำคัญของยา รวมทั้งกระบวนการทางเภสัชจลนศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ทำให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถตัดสินใจการรักษาบนพื้นฐานของความเสี่ยง และประโยชน์ที่ผู้ป่วยแต่ละรายจะได้รับ โดยคณะผู้จัดการประชุมมุ่งหวังที่จะถ่ายทอดข้อมูลที่สำคัญและทันสมัย เพื่อช่วยส่งเสริมเภสัชกรวิชาชีพและบุคลากรทางการแพทย์ได้มีความเข้าใจ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติ และเป็นประโยชน์ให้เกิดผลการรักษาแก่ผู้ป่วยตามที่คาดหวังและปลอดภัย นอกจากนี้ การประชุมดังกล่าวยังได้รับการสนับสนุนจากบริษัทต่างๆ ได้แก่ 1) บริษัท เบอริงเกอร์ อินเกลไฮม์ (ไทย) จำกัด 2) บริษัท โนโว นอร์ดิสค์ ฟาร์มา (ประเทศไทย) จำกัด 3) บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด 4) บริษัท เอ เมนารินี (ประเทศไทย) จำกัด 5) บริษัท ซาโนฟี่-อเวนตีส (ประเทศไทย) จำกัด 6) บริษัท ไทยโอซูก้า จำกัด 7) บริษัท บี.เอ็ล.ฮั้ว จำกัด และ 8) บริษัท เซอร์เวียร์ (ประเทศไทย) จำกัด

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา