Loading…

เภสัชมหิดล ร่วมกับ สวรส. และ กองการแพทย์จีโนมิกส์ฯ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง เภสัชพันธุศาสตร์เพื่อการใช้ยาสมเหตุผลในประเทศไทย

1807 ครั้ง   15 ธันวาคม 2563
เมื่อวันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ตั้งแต่เวลา 09.00-16.30 น. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และ กองการแพทย์จีโนมิกส์และสนับสนุนนวัตกรรม กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ’เภสัชพันธุศาสตร์เพื่อการใช้ยาสมเหตุผลในประเทศไทย’ ณ ห้องประชุมกมลทิพย์ 1 โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพ โดยมี ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมดังกล่าว รวมทั้ง รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.จุฑามณี สุทธิสีสังข์ รองอธิการบดีฝ่ายนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยมหิดล ให้เกียรติกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุม และนายแพทย์นพพร ชื่นกลิ่น ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ให้เกียรติกล่าวรายงาน ความเป็นมาและความสำคัญของโครงการวิจัย เรื่อง เภสัชพันธุศาสตร์เพื่อการใช้ยาสมเหตุผลในประเทศไทย อันเป็นจุดเริ่มต้นของการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ โดยโครงการวิจัยดังกล่าวได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และมีทีมนักวิจัยจาก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินงานร่วมกับ กองการแพทย์จีโนมิกส์และสนับสนุนนวัตกรรม กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.อุษา ฉายเกล็ดแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ดวงดาว ฉันทศาสตร์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวด้วย ในช่วงเช้าของการประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าว เป็นการบรรยายพิเศษโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ได้แก่ 1) นายแพทย์นพพร ชื่นกลิ่น ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ให้เกียรติบรรยายในหัวข้อ ’ทิศทางของแหล่งทุนที่สนับสนุนงานวิจัยด้านจีโนมิกส์’ 2) ดร.นพ.สุรัคเมธ มหาศิริมงคล ผู้อำนวยการกองการแพทย์จีโนมิกส์และสนับสนุนนวัตกรรม กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ให้เกียรติบรรยายในหัวข้อ ’บทบาทของเภสัชพันธุศาสตร์เพื่อการใช้ยาสมเหตุผลในประเทศไทย’ และ 3) ศาสตราจารย์ ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้เกียรติบรรยายในหัวข้อ ’นโยบายและแนวทางส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผลในประเทศไทย’ ด้วย นอกจากนี้ คณะผู้จัดการประชุมยังได้จัดการแถลงข่าว เรื่อง ’เภสัชพันธุศาสตร์กับแนวปฏิบัติการตรวจพันธุกรรม สู่การพัฒนาระบบสุขภาพ เพื่อคุณภาพชีวิตคนไทย มีความปลอดภัยในการรักษา อีกหนึ่งแนวทางการใช้ยาสมเหตุผล และส่งเสริมระบบสุขภาพยั่งยืน’ โดยมีสื่อมวลชนให้ความสนใจเข้าร่วมการแถลงข่าวจำนวนมาก [อ่านแถลงข่าวที่นี่: https://docs.google.com/viewer?url=https://pharmacy.mahidol.ac.th/docs/dl.php?to=MTEwODA=] กิจกรรมในช่วงบ่าย ประกอบด้วย 2 กิจกรรม ได้แก่ 1) การประชุมทีมวิจัย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อหารือและรับข้อเสนอแนะสำหรับโครงการวิจัยดังกล่าว และ 2) การประชุมเชิงปฏิบัติการสำหรับเภสัชกรและบุคลากรสาธารณสุข ซึ่งเป็นการบรรยายและฝึกอบรม จำนวน 3 หัวข้อ ได้แก่ หลักการและการประยุกต์เภสัชพันธุศาสตร์คลินิก แนวทางตรวจยีนสำหรับยา carbamazepine และ แนวทางตรวจยีนสำหรับยา allopurinol โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภก.ศุภทัต ชุมนุมวัฒน์ และ อาจารย์ ดร.ภญ.ศุภรัตน์ สุวิชาพาณิชย์ เป็นวิทยากร ทั้งนี้ การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ’เภสัชพันธุศาสตร์เพื่อการใช้ยาสมเหตุผลในประเทศไทย’ มีเภสัชกรและบุคลากรสาธารณสุขให้ความสนใจเข้าร่วม จำนวน 92 คน และมีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ คือ 1) เพื่อสรุปผลการวิจัย และกำหนดแนวทางในการใช้ประโยชน์ของโครงการวิจัยในอนาคต สำหรับการนำไปต่อยอดและใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม 2) เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านเภสัชพันธุศาสตร์เพื่อการใช้ยาสมเหตุผล รวมทั้งแนวปฏิบัติและมาตรฐานที่ชัดเจน สำหรับการจัดการดูแลผู้ป่วยให้แก่เภสัชกร และบุคลากรทางการแพทย์ที่สนใจ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม และ 3) เพื่อประชาสัมพันธ์ผลการวิจัยแก่สื่อมวลชน และสาธารณชน ให้เป็นที่รับทราบในวงกว้างตามข้อกำหนดของโครงการวิจัย ซึ่งเป็นการบูรณาการองค์ความรู้ทางเภสัชพันธุศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานทางเภสัชกรรมคลินิก และเชื่อมโยงกับระบบการจัดการและดูแลสุขภาพของผู้ป่วย เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ และเป็นต้นแบบในประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางเภสัชพันธุศาสตร์สำหรับการพัฒนาระบบสาธารณสุขไทย เพื่อส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล รวมทั้งเป็นมาตรฐานในการปฏิบัติงานสำหรับเภสัชกรวิชาชีพและบุคลากรทางสาธารณสุขต่อไป หมายเหตุ ขอขอบคุณภาพถ่ายจากงานสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยมหิดล

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา