การพัฒนานาโนพาร์ติเคิลของโพลีกลีเซอรอลอะดิเพตที่ปรับปรุงคุณสมบัติสาหรับนาส่งเอสเอ็น-38

โดย: นายจิตฤณ อัชญาวัฒน์, นายพุทธิคม จวงรัตนะกาจร    ปีการศึกษา: 2559    กลุ่มที่: 9

อาจารย์ที่ปรึกษา: จิรพงศ์ สุขสิริวรพงศ์ , กฤษฎา ศักดิ์ชัยศรี    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: เอสเอ็น-38, นาโนพาร์ติเคิล, โพลีกลีเซอรอลอะดิเพต, คอเลสเตอรอล, วิตามินอี, SN-38, Nanoparticles, Poly(glycerol adipate), Cholesterol, Vitamin E
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้จัดทาขึ้นเพื่อพัฒนานาโนพาร์ติเคิลจากโพลีกลีเซอรอลอะดิเพตที่ปรับปรุงโครงสร้างโดยการติดคอเลสเตอรอล (CH-PGA) และวิตามินอี (VE-PGA) บนสายโซ่ที่ 10%, 30% และ 50% เพื่อใช้ในการนาส่ง SN-38 จากการศึกษาผลของปริมาณคอเลสเตอรอลที่ 10%, 30% และ 50% พบว่าเมื่อเพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอลในสายโซ่ทาให้อนุภาคมีขนาดเล็กลง (อยู่ในช่วง 151-237 นาโนเมตร) การกระจายขนาดอนุภาคลดลง (PDI อยู่ในช่วง 0.030-0.240) เนื่องจากความไม่ชอบน้าของแกนกลางอนุภาคเพิ่มขึ้น ค่าศักย์ไฟฟ้าซีต้า (ZP) ติดลบมากขึ้น (อยู่ในช่วง -78.8 ถึง -16.8 มิลลิโวลต์) เมื่อบรรจุยาลงในอนุภาค พบว่าอนุภาคมีขนาดใหญ่ขึ้น PDI เพิ่มขึ้น และ ZP สัมบูรณ์ลดลง โดยตารับ 50%CH-PGA มีความสามารถในการบรรจุยามากที่สุด กรณีนาโนพาร์ติเคิล VE-PGA พบว่าการเพิ่มปริมาณวิตามินอีบนสายโซ่ส่งผลต่อคุณสมบัติของนาโนพาร์ติเคิล VE-PGA ทั้งที่ไม่บรรจุและบรรจุยาสอดคล้องกับนาโนพาร์ติเคิล CH-PGA ตารับ 50%VE-PGA มีขนาดอนุภาคเล็กที่สุด (125±4 นาโนเมตร)และมีร้อยละของการบรรจุยามากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบความสามารถในการบรรจุยาของ CH-PGA และ VE-PGA พบว่าไม่เพียงแต่นาโนพาร์ติเคิล CH-PGA มีขนาดใหญ่กว่าแต่ยังบรรจุยาได้มากกว่าด้วย อาจเนื่องจากคอเลสเตอรอลมีความเข้ากันได้กับยามากกว่าวิตามินอีเนื่องจากทั้ง 2 ตารับนี้มีความสามารถในการบรรจุยามากที่สุดจึงเลือกตารับดังกล่าวไปศึกษาการปลดปล่อยยาในตัวกลางพีเอช 4.5 และ 7.4 นาน 7 วัน จากผลการศึกษาพบว่าทั้ง 2 ตารับให้การปลดปล่อยยาแบบทยอยและปริมาณการปลดปล่อยยาในตัวกลางพีเอช 7.4 มากกว่าในตัวกลางพีเอช 4.5 นาโนพาร์ติเคิล 50%CH-PGA ปลดปล่อยยามากกว่านาโนพาร์ติเคิล 50%VE-PGA ในทั้ง 2 ตัวกลาง
abstract:
This special project aimed to develop the nanoparticles prepared from cholesterol- and vitamin E-substituted poly(glycerol adepate) (CH-PGA and VE-PGA, respectively) at 10%, 30%, and 50% for delivery of SN-38. Regarding 10%, 30%, and 50% CH contents, the increasing CH amount decreased the particle size (151-237 nm) and polydispersity index (PDI 0.030-0.240) because of an increase in hydrophobicity of particle core while their zeta potential (ZP) became more negative (-78.8 to -16.8 mV). After drug loading, their particle size and PDI increased but the absolute ZP decreased. The 50%CH-PGA formulation possessed the highest drug loading capacity. In case of VE-PGA nanoparticles, the results revealed that the increment of VE content on the polymer chain affected the properties of both blank and drug-loaded VE-PGA nanoparticles in a similar manner as observed in case of CH-PGA nanoparticles. The 50%VE-PGA formulation had the smallest size (125±4 nm) and the highest %drug loading. Comparing the loading capacity of CH-PGA and VE-PGA nanoparticles, not only the particle size of CH-PGA nanoparticles was bigger but also their %drug loading was higher possibly due to more compatibility of the drug and CH rather than VE. Owing to the highest loading capacity of both formulations, they were thus chosen for studying the drug release in media pH 4.5 and 7.4 for 7 days. The results showed that both formulations exhibited sustained release of SN-38 and the higher extent of drug release was observed in the medium pH 7.4 than pH 4.5. The 50%CH-PGA nanoparticles gave the higher extent of drug release than 50%VE-PGA nanoparticles in both media.
.