การพัฒนาผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นไม่พึงประสงค์ของเท้า จากน้ามันหอมระเหย |
โดย: นางสาวชลธิชา ไวทยะวิจิตร, นางสาวสุมนา ศิลป์เจริญ ปีการศึกษา: 2557 กลุ่มที่: 7 อาจารย์ที่ปรึกษา: ปิยทิพย์ ขันตยาภรณ์ , จิรพงศ์ สุขสิริวรพงศ์ ภาควิชา: ภาควิชาจุลชีววิทยา Keyword: น้ามันหอมระเหย, น้ามันตะไคร้, ฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย, ระงับกลิ่นเท้า, Self-nanoemulsifying drug delivery system (SNEDDS), Essential oil, Lemongrass oil, Antibacterial activity, Foot deodorant, Self-nanoemulsifying drug delivery system (SNEDDS) |
บทคัดย่อ: โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นไม่พึงประสงค์ของเท้าจากสมุนไพรน้ามันหอมระเหย การคัดเลือกชนิดของน้ามันหอมระเหยนั้นอาศัยค่าความเข้มข้นต่าสุด ที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้ออันเป็นสาเหตุของกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์บริเวณเท้า พบว่าน้ามันตะไคร้ ที่ความเข้มข้นร้อยละ 0.125 โดยปริมาตร มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อครอบคลุมมากที่สุด จากนั้นนาน้ามันตะไคร้มาพัฒนาตารับในรูปแบบ self-nanoemulsion โดยใช้น้ามันตะไคร้ร้อยละ 0.625 โดยปริมาตร สารลดแรงตึงผิวที่ใช้ คือ Tween 20 ร่วมกับสารลดแรงตึงผิวร่วม คือ Cremophor® RH40, Span 20 และ Labrafil M1944 CS ในสัดส่วนที่แตกต่างกัน จากนั้นผสมตารับกับน้าในอัตราส่วน 1:160 โดยปริมาตร และนามาทดสอบลักษณะทางกายภาพ ขนาดอนุภาค ศักย์ไฟฟ้าซีตา และการกระจายขนาดอนุภาค พบว่าเมื่อเพิ่มอัตราส่วนของน้ามันตะไคร้มากกว่าร้อยละ 40 จะทาให้อิมัลชันเกิดแยกชั้น โดยอัตราส่วนที่เพิ่มขึ้นของน้ามันตะไคร้ต่อ Tween 20 มีผลให้อนุภาคมีขนาดใหญ่ขึ้น นอกจากนี้การใช้ Cremophor® RH40 เป็นสารลดแรงตึงผิวร่วม ทาให้ได้ nanoemulsion ที่มีความคงตัวดีที่สุด เกิดการแยกชั้นน้อยที่สุด และมีอนุภาคขนาดเล็ก รองลงมาคือ Span 20 และ Labrafil M1944 CS ตามลาดับ จากนั้นจึงนาตารับที่ได้ไปศึกษาความคงตัวที่เวลา 1 และ 2 เดือน เมื่อเก็บในสภาวะปกติ และสภาวะเร่ง ตารับที่เลือกมาศึกษาประกอบด้วยน้ามันตะไคร้ร้อยละ 30 และ 40 พบว่าขนาดอนุภาคของตารับส่วนใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเวลาเริ่มต้น ในขณะที่ยังคงฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของปัญหาดังกล่าว จากผลการทดลองทั้งหมดพบว่าตารับที่มีความคงตัวและเหมาะสมที่สุด คือตารับที่ประกอบด้วย น้ามันตะไคร้ Tween20 และ Cremophor® RH40 อัตราส่วน 4:1:5 โดยน้าหนัก |
abstract: The aim of this special project was to develop foot deodorant product from essential oil. The selection of essential oil depended on the minimum inhibitory concentration (MIC) of the bacteria causing foot odor. The results showed that lemongrass oil at 0.125 %v/v had the most activity to inhibit growth of bacteria. The lemongrass oil (0.625 %v/v) was further developed as self-nanoemulsion. Tween 20 was used as a surfactant while Cremophor® RH40, Span 20 and Labrafil M1944 CS were employed as co-surfactants at various ratios. The formulation was mixed with water at the ratio of 1:160 by volume. Then the nanoemulsion was further characterized for their physical appearance, droplet size, zeta potential and size distribution. The results found that the oil concentration higher than 40% caused emulsion cracking. The increasing ratio of lemongrass oil to Tween 20 increased the droplet size of nanoemulsion. In addition, the use of Cremophor® RH40 as a co-surfactant resulted in the most stable, less cracking and smaller nanoemulsion followed by Span 20 and Labrafil M1944 CS, respectively. The optimized formulations were subsequently subjected to the stability study for 1 and 2 months under long-term and accelerated conditions. The selected formulations contained 30% and 40% lemongrass oil. As time passed, the droplet size of most formulations tended to increase but all could preserve their antibacterial activity. From all results, the most stable and optimum formulation contained lemongrass oil, Tween 20 and Cremophor® RH40 at the weight ratio of 4:1:5. |
. |