การเตรียมนิโอโซมของสารสกัดใบมะม่วง |
โดย: จุฑามาศ เจียรนัยกุลวานิช, ณัฎฐา ธีรนิติ ปีการศึกษา: 2548 กลุ่มที่: 7 อาจารย์ที่ปรึกษา: วราภรณ์ จรรยาประเสริฐ , นันทวัน บุณยะประภัศร , ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม Keyword: นิโอโซม, แมงจิเฟอริน, วิธีกลับวัตภาคด้วยการระเหยแห้ง, การนำส่งยาผ่านผิวหนัง, Niosome, Mangiferin, Reverse phase evaporation, Transdermal delivery |
บทคัดย่อ: แมงจิเฟอริน(Mangiferin) เป็นสารสำคัญในสารสกัดใบมะม่วง (Mangifera indica Linn.) ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ และต้านเชื้อไวรัส การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่จะเตรียมนิโอโซมของสารสกัดใบมะม่วง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการนำส่งสารเข้าสู่ผิวหนัง โดยศึกษาปัจจัยต่างๆในการเตรียมนิโอโซมที่มีผลต่อการกักเก็บ ได้แก่ การใช้ Solulan C24 เป็นสารเพิ่มความคงตัว การลดขนาดนิโอโซมด้วยการใช้เครื่องโฮโมจิไนเซอร์ความดันสูง การปรับเปลี่ยนความเข้มข้นของสารสกัดต่อไขมัน และความเข้มข้นทั้งหมดของไขมันและสารสกัดในระบบ การเตรียมนิโอโซมจากสารสกัดใบมะม่วงทำโดยวิธีกลับวัตภาคด้วยการระเหยแห้ง (reverse phase evaporation) ที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง โดยใช้ Span 60และคลอเรสเตอรอล ในอัตราส่วน 1:1 เป็นสารสร้างผนังและใช้ไดเอทิลอีเทอร์เป็นตัวทำละลาย ผลการทดลองชี้ให้เห็นว่าการใช้ Solulan C24 ที่ 5 โมลเปอร์เซ็นของไขมันทั้งหมด ทำให้ขนาดของนิโอโซมลดลง และเพิ่มความคงตัวให้กับสูตรตำรับ เมื่อนำนิโอโซมที่ได้ไปลดขนาดด้วยเครื่องโฮโมจิไนเซอร์ความดันสูง (High pressure homogenizer) 200 บาร์ 3 รอบ พบว่าได้นิโอโซมที่มีขนาดอนุภาคมีขนาดเล็กลง และการกระจายตัวที่แคบ อยู่ในช่วง 270-500 นาโนเมตร เมื่อนำมาวิเคราะห์ปริมาณสารที่ถูกกักเก็บด้วยวิธี รงคเลขเหลวแบบสมรรถนะสูง (High performance liquid chromatography) พบว่า Solulan C24 ช่วยลดการสูญเสียการกักเก็บสารของนิโอโซมในขั้นตอนการลดขนาด เมื่อเพิ่มความเข้มข้นของสารสกัดต่อไขมันขึ้น ทำให้ปริมาณสารที่กักเก็บ (drug entrapped) เพิ่มขึ้น โดยร้อยละประสิทธิภาพในการกักเก็บสาร (% entrapping efficiency) อยู่ในช่วง 39.45-73.17 โดยน้ำหนัก และร้อยละของการกักเก็บสารต่อปริมาณไขมันที่ใช้สร้างผนัง (% drug loading) อยู่ในช่วง 0.32-6.63 โดยน้ำหนัก และเมื่อดูผลการเพิ่มปริมาณสารทั้งหมดของสารสกัดและไขมันในสูตรตำรับที่ใช้สารสกัด ที่ความเข้มข้นร้อยละ 36.67 โดยน้ำหนักของไขมัน พบว่าปริมาณสารกักเก็บ ประสิทธิภาพในการกักเก็บสารของนิโอโซม และ ร้อยละของการกักเก็บสารต่อปริมาณไขมันที่ใช้สร้างผนัง มีค่าเพิ่มมากที่สุด เมื่อใช้ความเข้มข้นทั้งหมดของสารสกัดและไขมันในระบบ เท่ากับร้อยละ 5.03 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร |
abstract: Mangiferin is an active substance in mango leaf (Mangifera indica Linn.) extract having anti-oxidant, anti-inflammatory and anti-viral activities. The purpose of this study was to develop niosomes of mango leaf extract to enhance transdermal delivery. Various factors affecting the drug entrapment of niosomes were investigated. These factors included the use of Solulan C24 as a stabilizer, size reduction by high pressure homogenizer, concentration of extract in lipid and total concentration of extract and lipid in formulation. Mango leaf extract niosomes were prepared by a reverse phase evaporation method (45 ºC, 1 h), using 1:1 Span 60 and cholesterol as wall forming agents and diethyl ether as a solvent. The results indicate that adding Solulan C24 at 5 mole% of total lipid resulted in the smaller size niosomes with better stability. Using high pressure homogenizer (200 bars, 3 cycle), the size of the obtained niosomes was reduced to 270-500 nm with narrow size distribution. When analyzing the entrapped mangiferin in nisomes by high performance liquid chromatography (HPLC), it was found that niosomes of Solulan C24 had lower drug lose during size reduction. When the concentration of extract in lipid increased, the drug entrapped increased. The entrapping efficiency was 39.45-73.17 % by weight and % drug loading was 0.32-6.63 % weight by weight of total lipid in formulation. In formulation of 36.67 % weight by weight of lipid of crude extract, the highest drug entrapped, entrapping efficiency and % drug loading were obtained when using the total concentration of extract and lipids at 5.03 % weight by volume. |
. |