การสํารวจการจัดตั้งและการดําเนินงานของหน่วยบริการผสมสารละลายยาต้านมะเร็ง และอาหารที่ให้ทางหลอดเลือดดํา

โดย: ทรงธรรม จังภัทรกุล, ทิวาวรรณ สุขแช่ม    ปีการศึกษา: 2547    กลุ่มที่: 7

อาจารย์ที่ปรึกษา: บุษบา จินดาวิจักษณ์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: อาหารที่ให้ทางหลอดเลือดดํา, สารละลายยาต้านมะเร็ง, การสํารวจการจัดตั้ง, Total parenteral nutrition, cytotoxic admixture, survey of implementation
บทคัดย่อ:
จากรายงานการศึกษาการสํารวจงานบริการเภสัชกรรมโรงพยาบาลในประเทศไทย ซึ่งดําเนินการในปี พ.ศ. 2546 พบว่ายังมีหน่วยบริการผสมสารละลายยาต้านมะเร็งและอาหารที่ให้ทางหลอดเลือดดําเป็นจํานวนน้อย การศึกษานี้จึงจัดทําขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสํารวจวิธีการจัดตั้งและดําเนินงานของหน่วยบริการผสมสารละลายยาต้านมะเร็งและอาหารที่ให้ทางหลอดเลือดดําในโรงพยาบาลที่มีหน่วยบริการดังกล่าวแล้ว โดยแบบสอบถามจัดทําขึ้นตามเกณฑ์มาตรฐาน ปฏิบัติงานเภสัชกรรมโรงพยาบาลและส่งแบบสอบถามไปยังโรงพยาบาลจํานวน 70 แห่ง ได้แบบสอบถามตอบกลับจํานวน 37 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 52.9 โดยเป็นโรงพยาบาลที่มีหน่วยบริการผสมสารอาหารทางหลอดเลือดดําจํานวน 10 แห่ง สารละลายยาต้านมะเร็งจํานวน 13 แห่ง และปฏิบัติทั้งสองอย่างอีกจํานวน 14 แห่ง ผลการสํารวจพบว่าข้อปฏิบัติงานของโรงพยาบาลที่ให้บริการผสมอาหารที่ให้ทางหลอดเลือดดําและสารละลายยาต้านมะเร็งที่ปฏิบัติตามได้มากที่สุด ได้แก่การตรวจสอบผลิตภัณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 70.8 และขั้นตอนการรับใบสั่งยา คิดเป็นร้อยละ70.4 ตามลําดับ ส่วนข้อปฏิบัติงานที่ปฏิบัติตามได้น้อย คือ เทคนิคปลอดเชื้อ คิดเป็นร้อยละ 4.2และ 3.7 สําหรับโรงพยาบาลที่ให้บริการผสมอาหารที่ให้ทางหลอดเลือดดําและสารละลายยาต้านมะเร็ง ตามลําดับ นอกจากนี้ในส่วนของงานบริการผสมอาหารที่ให้ทางหลอดเลือดดํา ยังมีปัญหาด้านห้องเปลี่ยนเครื่องแต่งกาย คิดเป็นร้อยละ 98.8 และงานบริการผสมสารละลายยาต้านมะเร็งมี ปัญหาเรื่องห้องปฏิบัติงานผสม คิดเป็นร้อยละ 100 ผลการศึกษาสรุปได้ว่าเทคนิคการผสมและสถานที่ในการผสมและเปลี่ยนเครื่องแต่งกายเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อการจัดตั้งและดําเนินงานซึ่งปัจจัยนี้แก้ไขได้และควรหาวิธีการแก้ไขต่อไป
abstract:
The 2003-survey of the clinical pharmacy services in hospitals showed a few number of hospitals having centers for compounding cytotoxic drug and parenteral nutrition (PN). This study was conducted to survey the implementation and running of cytotoxic and PN admixture. Hospitals which had these services reported from previous study were included. Questionaire was developed and based on practice standards for hospital pharmacy and mailed to 70 hospitals. There were 37 responses (response rate=52.9%) which were 10 hospitals with PN admixing service,13 hospitals with cytotoxic admixing service and 14 hospitals with both PN and cytotoxic admixing service. The results showed guidelines were followed in the process of end–product checking for those hospitals with PN admixing service (70.8%), and the process of receiving doctor’s order sheet for those hospitals with cytotoxic admixing service (70.4%). On the other hand, the aseptic technique was followed both in hospitals with PN admixing service (4.2%) and cytotoxic admixing service (3.7%). In addition, the most serious problem found in the PN admixing service was gowning (98.8%) and in the cytotoxic admixing service was compounding area (100%). It was concluded that compounding technique, area of compounding, and gowning were the important factors which affected the implementation and running the service. However, these factors can be solved and the solving method should be further determined.
.