การประเมินการใช้ยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ชนิดเลือกยับยั้งเฉพาะเอนไซม์cyclooxygenase 2 สําหรับผู้ป่วยนอกที่โรงพยาบาลศิริราช

โดย: กัญจนา ตระกูลช้าง, ภัททิยา จูฑะกาญจน์    ปีการศึกษา: 2547    กลุ่มที่: 6

อาจารย์ที่ปรึกษา: บุษบา จินดาวิจักษณ์ , มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ซีลีค็อกสิบ, โรฟีค็อกสิบ, การประเมินการใช้ยา, Celecoxib, Rofecoxib, Drug utilization evaluation
บทคัดย่อ:
จากรายงานการใช้ยาของโรงพยาบาลศิริราชปี 2546 ซีลีค็อกสิบและโรฟ์ค็อกสิบเป็นยาที่มีมูลค่าการใช้สูงเป็นอันดับต้นและเป็นยาที่มีราคาแพง จึงทําการประเมินการใช้ยาเพื่อตรวจสอบความเหมาะสมในการสั่งใช้ยาในด้านข้อบ่งใช้ ขนาดที่ใช้ และอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นภายหลังได้รับยา โดยทําการสุ่มผู้ป่วยใหม่ปี พ.ศ.2547 ที่ได้รับยาที่ศึกษาตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมจํานวน 100 คน จากแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศิริราช มาทําการประเมินการสั่งใช้ยาที่ได้รับเป็นครั้งแรกตามเกณฑ์ที่กําหนด ซึ่งเป็นการประเมินแบบย้อนหลัง ผลการศึกษาพบว่า ในผู้ป่วย 100 คน เป็นชาย 33 คน หญิง 67 คน อายุเฉลี่ย 55 ปี มีการสั่งใช้ซีลีค็อกสิบและโรฟ์ค็อกสิบตรงตามข้อบ่งใช้ที่กําหนดคิดเป็นร้อยละ 26 ของจํานวนการสั่งใช้ทั้งหมด มีการสั่งใช้ยาเพื่อป้องกันการเกิดอาการแทรกซ้อนทางกระเพาะอาหารให้แก่ผู้ป่วย 30 คน คิดเป็นร้อยละ 31.9 ของผู้ป่วยที่ไม่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคกระเพาะอาหารซึ่งมีจํานวน 94 คน และพบว่าเกิดอาการแทรกซ้อนทางกระเพาะอาหารหลังได้รับยาร้อยละ 4 ของผู้ป่วยทั้งหมด โดยสรุป มีการสั่งใช้ยา ซีลีค็อกสิบและโรฟ์ค็อกสิบถูกต้องทั้งข้อบ่งใช้ ขนาดที่ใช้ และการสั่งใช้ยาเพื่อป้องกันการเกิดอาการแทรกซ้อนทางกระเพาะอาหารร้อยละ 11 แสดงให้เห็นว่ายังคงมีความเข้าใจไม่ถูกต้องในการสั่งใช้ยาโดยเฉพาะข้อบ่งใช้ ซึ่งควรที่จะกําหนดขอบเขตของข้อบ่งใช้และเผยแพร่ให้แพทย์ทราบโดยทั่วกัน
abstract:
According to the Siriraj hospital’s 2003-drug usage report, Celecoxib and Rofecoxib were in the top ten level and expensive. This study is conducted to evaluate the appropriateness of drug usage in the aspect of indication, dose and adverse reaction. New patients of 2004 from outpatient department were sampling, and 100 patients were included. The study period was from March to May 2004. Only the first time of prescribing of the study drug were evaluated. The evaluation was performed retrospectively and according to the set criteria. Of the 100 patients, there were 33 men and 67 women with average age 55 years old. Twenty-six percent of the study patients received prescriptions, which were correct indication. Thirty patients (31.9%) of 94 patients who were not at risk of gastro-intestinal (GI) complication were prescribed with drug that could prevent GI complication. However, 4% of all patients were suffered from GI complication. In conclusion, 11% of Celecoxib and Rofecoxib usage were prescribed correctly in indication, dose and preventing GI complication. The result indicated the incorrect prescribing especially in the indication aspect. Therefore the indication of use should be specified and provided to all prescribers.
.