รูปแบบการสั่งใช้ยาลดระดับไขมันในเลือดในโรงพยาบาลราชวิถี |
โดย: นายนราธร พิทักษ์อรรณพ,
นส.ธมลวรรณ พรประสิทธิ์
ปีการศึกษา: 2546 กลุ่มที่: 6 อาจารย์ที่ปรึกษา: สุรกิจ นาฑีสุวรรณ , เฉลิมศรี ภุมมางกูร , ประไพ เถลิงโชค , อัมพร ฮั่นตระกูล ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม Keyword: ยาลดระดับไขมันในเลือด, ไขมันในเลือด, Antihyperlipidemic Agents, Dyslipidemia |
บทคัดย่อ: การศึกษารูปแบบการสั่งใช้ยาลดระดับไขมันในเลือด ในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลราชวิถี มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อ ศึกษาคุณภาพในการรักษาผู้ป่วยโรคไขมันในเลือดผิดปกติ โดยอาศัยตัวชี้วัดคุณภาพตามมาตรฐานของ National Cholesterol Education Program (NCEP) Adult Treatment Panel III และศึกษาอัตราการเกิดอาการข้างเคียงของยาลดไขมันในเลือด รวมไปถึงการเฝ้าระวังอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นรูปแบบของการสำรวจข้อมูลเป็นแบบ Cohort study การสำรวจข้อมูลอาศัยข้อมูลในแฟ้มประวัติผู้ป่วย และอาศัยแบบสำรวจข้อมูลเป็นอุปกรณ์ในการศึกษา มีระยะเวลาในการเก็บข้อมูลตั้งแต่ 15 มิถุนายน 2546 ถึง 31 สิงหาคม 2546 จากผลการศึกษาในผู้ป่วยจำนวน 190 คน พบว่า มีผู้ป่วยที่สามารถลดระดับไขมันชนิด LDL-C, เพิ่มระดับไขมันชนิด HDL-C และ ลดระดับไขมันชนิดไตรกลีเซอไรด์ ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดจำนวน 32.6%, 80.6% และ 47.8% ผู้ป่วยที่มีระดับไขมันชนิด LDL-C สูงกว่าค่าปกติได้รับยาลดระดับไขมันชนิด HMG-CoA Reductase Inhibitor (statin) เป็นจำนวน 64.8% และมีผป่วยที่มีระดับ HDL-C ต่ำหรือระดับไตรกลีเซอไรด์สูงได้รับยาลดระดับไขมันชนิด Fibrates เป็นจำนวน 30.6%และ35.2% ตามลำดับ มีรายงานการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จำนวน 7.4% โดยอาการไม่พึงประสงค์ที่พบมากคือ myalgia เกิดจากยา statin ซึ่งส่วนใหญ่แพทย์ได้ทำการแก้ไขโดยการเปลี่ยนชนิดยาเมื่อเกิดอาการไม่พึงประสงค์ขึ้น มีผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจวัดระดับไขมันในเลือด, ระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตเป็นประจำทุกปีจำนวน 89.2%, 90.5% และ 100% ตามลำดับ ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับยาแอสไพรินเพื่อป้องกันการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันและโรคหลอดเลือดสมองในรายที่มีปัจจัยเสี่ยงจำนวน 91.1% แต่ได้รับจริงเพียง 49.5% ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงโอกาสในการพัฒนาการบรรลุเป้าหมายการรักษาผู้ป่วยไขมันในเลือดผิดปกติ รวมทั้งการเพิ่มอัตราการใช้ยาแอสไพริน ข้อมูลเหล่านี้อาจเป็นประโยชน์ในการนำไปสู่การคิดค้นมาตรการในการเพิ่มคุณภาพการรักษาผู้ป่วยไขมันในเลือดผิดปกติต่อไป |
abstract: Prescribing pattern of antihyperlipidemic agents at the Outpatient Department of Ratchavithi Hospital was studied. The purposes of this study were to 1) assess the quality of dyslipidemia treatment based on NCEP (ATP III) recommendations 2) evaluate the pattern of adverse drug reactions (ADRs) monitoring and management. This was a retrospective cohort study using medical charts of patients as information source. The study period was from June 15 to August 31,2003. Of 190 patients included in the final analysis, the achievement of LDL-C, HDL-C and triglyceride goals per NCEP III were 32.6%, 80.6% and 47.8%, respectively. Statins were prescribed to 64.8% of patients whose LDL-C were elevated while fibrates were prescribed to 30.6% of patients whose HDL-C were low and 35.2% of patients whose triglyceride were elevated. Adverse drug reactions were documented in 7.4% of the study population. Myalgia was the most commonly reported ADRs with statins as the most commonly implicated drugs. When ADRs occurred, physicians mostly managed by switching to other drugs. Regular monitoring of lipid profile, serum glucose and blood pressure was implemented in 89.2%, 90.5% and 100% of patients, respectively. Over ninety percent of patients may be candidates for aspirin therapy, however aspirin were prescribed to only 49.5% of these patients. The result of this study suggests that there is still a need for the improvement in achieving lipid goals while aspirin use is still low even when it is indicated. As a result, interventions aiming to improve treatment quality are warranted. |
. |