การใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ กับการกำเริบของโรคหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง

โดย: ขนิษฐา ชาญตระการ, ศิริกาญจน์ โรจนสาโรช    ปีการศึกษา: 2553    กลุ่มที่: 59

อาจารย์ที่ปรึกษา: สุรกิจ นาฑีสุวรรณ , ครรชิต ลิขิตธนะสมบัติ , วิสุทธิ์ เกตุแก้ว , วสันต์ ซุ่นเฟือง , พรนลัท ทองศรีสมบูรณ์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์, โรคหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง,โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด, Non-steroidal anti-inflammatory drugs, Chronic heart failure ,acute coronary syndrome
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้เป็นการทบทวนแฟ้มประวัติย้อนหลังเพื่อศึกษาลักษณะของผู้ป่วยหรือปัจจัยที่สัมพันธ์กับการกำเริบของโรคหัวใจล้มเหลวเรื้อรังจากการได้รับยา NSAIDs รวมทั้งประเมินความชุกและลำดับความสำคัญของการใช้ยา NSAIDs เปรียบเทียบกับปัจจัยอื่นๆ ที่กระตุ้นให้เกิดการกำเริบของโรคหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยเรื่องหลักคือ Congestive heart failure ณ แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลรามาธิบดี นับตั้งแต่ 1 มกราคม 2552 ถึง 31 ธันวาคม 2552 จากนั้นวิเคราะห์และสรุปข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา พบว่าผู้ป่วยจำนวน 154 คนที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกมีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 69.1±15.2 ปี แบ่งเป็นผู้ป่วยที่ได้รับยา NSAIDs 30 ราย และไม่ได้ยา NSAIDs 124 ราย ปัจจัยกระตุ้นสำคัญที่ทำให้เกิดการกำเริบของโรคหัวใจล้มเหลวเรื้อรังสามอันดับแรกได้แก่ การติดเชื้อ (ร้อยละ 33.1) โลหิตจาง (ร้อยละ 27.9) การใช้ยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นอาการหัวใจล้มเหลว (ร้อยละ 26.0) โดยยาเหล่านี้ที่พบบ่อยได้แก่ NSAIDs และยากลุ่ม Thiazolidinedione (ร้อยละ 19.5 และ ร้อยละ 3.8 ของผู้ป่วยทั้งหมด ตามลำดับ) เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยา NSAIDs และไม่ได้รับยา NSAIDs พบว่าลักษณะทางคลินิคพื้นฐานทั่วไปส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับยา NSAIDs มีแนวโน้มที่จะมีโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเป็นสาเหตุร่วมในการกระตุ้นเกิดการกำเริบของโรคหัวใจล้มเหลวเรื้อรังมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับยา (ร้อยละ 33.3 และ ร้อยละ 13.7; p = 0.011) การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการใช้ยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นอาการของโรคหัวใจล้มเหลว เป็นหนึ่งในปัจจัยกระตุ้นสำคัญที่อาจส่งผลให้เกิดการกำเริบของโรคและนำไปสู่การเข้าโรงพยาบาลได้ ซึ่งปัจจัยกระตุ้นนี้เป็นสิ่งที่สามารถป้องกันได้ ดังนั้นจึงควรมีมาตรการในการป้องกันหรือหลีกเลี่ยงการสั่งใช้ยา NSAIDs ในผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวเรื้อรังเพื่อลดผลเสียที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้ป่วยต่อไป
abstract:
This study was a retrospective review to evaluate patient characteristics or factors which are associated with acute exacerbation of chronic heart failure (AECHF) and usage of non-steroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs). We also aimed to evaluate the importance of NSAIDs use compared to other causes that can trigger AECHF. We performed data collection from patients hospitalized with a primary diagnosis of AECHF at the Ramathibodi hospital during January 2009 to December 2009. Data analysis was performed using both descriptive and analytical statistics where appropriate. A total of 154 patients were included in the data analysis with mean age of 69.1±15.2 year-old. Thirty were NSAIDs users and 124 were non-NSAIDs users. The most common precipitating factors for AECHF were infections (33.1%), anemia (27.9%) and use of drugs that may trigger AECHF (26.0%). Among drugs triggering AECHF, 19.5% and 3.8% were NSAIDs and thiazolidinediones, respectively. Between NSAIDs users and non users, most baseline characteristics were similar. However, NSAIDs users were more likely to have acute coronary syndrome as a precipitating factor for AECHF than non-NSAIDs users (33.3% and 13.7%; p = 0.011). In summary, this study suggests that drug side-effect is one of the most common precipitating factors for AECHF, which can be prevented. Therefore, measures should be taken to prevent or avoid prescribing of NSAIDs for chronic heart failure patients.
.