การสำรวจความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาแผนไทยของ เภสัชกรและแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาล |
โดย: นางสาวฝนทิพย์ ทองสมบัติพาณิช,นางสาวสนธิพร นิลสนธิ ปีการศึกษา: 2560 กลุ่มที่: 57 อาจารย์ที่ปรึกษา: มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์ , ศิตาพร ยังคง , วิวรรณ วรกุลพาณิชย์ ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม Keyword: อาการไม่พึงประสงค์, ยาแผนไทย,ความรู้ ทัศนคติและประสบการณ์ในการรายงานอาการไม่พึงประสงค์, Pharmacovigilance, knowledge, attitude, adverse drug reaction, traditional medicine, ADR |
บทคัดย่อ: การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความรู้ ทัศนคติและประสบการณ์ในการรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากยาแผนไทยในเภสัชกรและแพทย์แผนไทย ตลอดจนศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากยาแผนไทย โดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ เภสัชกร และแพทย์แผนไทยที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลที่ได้รับการคัดเลือก 205 โรงพยาบาล ผลการศึกษาพบว่า มีการตอบกลับ 182 ฉบับ (ร้อยละ 44.4 ) โดยเป็นเภสัชกร 100 คน (ร้อยละ 54.9) แพทย์แผนไทย 81 (ร้อยละ 44.5) และมี 1 คนเป็นทั้งเภสัชกรและแพทย์แผนไทย (ร้อยละ 0.5) จากการศึกษา เภสัชกรและแพทย์แผนไทยเคยมีประสบการณ์ในการรายงานอาการไม่พึงประสงค์ไม่แตกต่างกัน โดยพบว่าร้อยละ 34 และ ร้อยละ 27 ของเภสัขกรและแพทย์แผนไทยเคยรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากยาแผนไทย ซึ่งเหตุผลส่วนใหญ่ที่ไม่เคยรายงาน ได้แก่ ไม่พบอาการไม่พึงประสงค์ตลอดจนอาการไม่พึงประสงค์ที่พบไม่รุนแรง ในส่วนของความรู้พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่ทราบเกี่ยวกับคำนิยามของอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง และระยะเวลาการรายงานอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง ทั้งนี้พบว่าเภสัชกรและแพทย์แผนไทยมีความรู้เฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (15.48 และ 11.93 ตามลำดับ p<0.001) |
abstract: The objectives of this study were to evaluate knowledge, attitude, and practice towards adverse drug reactions reporting among hospital pharmacists and traditional medicine practitioners. The questionnaires were sent directly to hospital pharmacists and traditional medicine practitioners in selected 205 hospitals. Of 410 questionnaire sent out 182 were completed, resulting in the response rate of 44.4%). Of the total respondents, 100 were pharmacists while 81 were traditional medicine practitioner and 1 was both pharmacists and traditional medicine practitioner. Traditional medicine practitioners and pharmacists were not different in terms of experiences in ADR reporting (34% and 27% of pharmacist and traditional medicine practitioner have ever reported ADRs). The common reasons for never report were that they did not come across the ADRs or detected ADRs were not severe. In terms of knowledge, many respondents did not know the definition of severe ADR and timing for ADR reporting.Significant difference was found between the 2 groups in terms of their knowledge score (15.48 VS 11.93, p<0.001). Knowledge is the significant factor associated with ADR reporting. |
. |