การบริบาลทางเภสัชกรรมของอาการปวดในผู้ป่วยโรคมะเร็ง |
โดย: น.ส.กชรัตน์ ชีวพฤกษ์, น.ส.ธนิยา เจริญเสรีรัตน์ ปีการศึกษา: 2551 กลุ่มที่: 52 อาจารย์ที่ปรึกษา: ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวิทยา Keyword: การบริบาลทางเภสัชกรรม ผุู้ป่วยที่มีอาการปวดจากโรคมะเร็ง, Pharmaceutical care, pain management in cancer patients |
บทคัดย่อ: โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัญหาของอาการปวดในผู้ป่วยโรคมะเร็งเพื่อการวางแผนและเลือกใช้ยาแก้ปวดได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนติดตามผลการรักษาเพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพและเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับผู้ป่วย โดยทำการศึกษาข้อมูลและประวัติการใช้ยาของผู้ป่วยจากเวชระเบียนและมีการสัมภาษณ์เพิ่มเติมจากผู้ป่วยหรือผู้ดูแลที่มีกำหนดพบแพทย์ ณ หน่วยระงับปวด โรงพยาบาลศิริราช ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 จากการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มีอาการปวดจำนวน 20 ราย ได้รับการวินิจฉัยว่ามีอาการปวดประเภทต่างๆ ได้แก่ nociceptive pain 8 ราย, neuropathic pain 1 ราย และ nociceptive pain ร่วมกับ neuropathic pain 11 ราย ตรวจพบปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาทั้งหมด 36 ครั้ง พบปัญหาจากการใช้ยามากที่สุดคือ อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา 17 ครั้ง เช่น อาการท้องผูกจากการใช้ยากลุ่ม opioids รองลงมาคือ ปัญหาจากการได้รับยาไม่เหมาะสม 11 ครั้ง เช่น ได้รับยาแก้ปวดที่มีกลไกในการออกฤทธิ์เหมือนกัน (strong µ opioid agonists ร่วมกับ weak µ opioid agonists) นอกจากนี้พบปัญหาในการใช้ยาของผู้ป่วย 8 ครั้ง เช่น ผู้ป่วยรับประทานยา MST® เป็น rescue drug โดยปัญหาที่ได้ปรึกษาแพทย์มีทั้งสิ้น 49 ครั้ง ซึ่งแพทย์ผู้ทำการรักษารับฟังและแก้ไขตามที่เภสัชกรรายงาน 44 ครั้ง ปัญหาการใช้ยาที่ได้อธิบายต่อผู้ป่วยมีทั้งสิ้น 17 ครั้ง โดยผู้ป่วยรับฟังและแก้ไขตามที่เภสัชกรรายงานทุกครั้ง จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น เภสัชกรจึงมีบทบาทหน้าที่สำคัญในการทำงานร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ ในการวางแผนและเลือกใช้ยา รวมทั้งให้ความรู้เรื่องยาและคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ยาแก่ผู้ป่วยหรือผู้ดูแล เพื่อช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและเป็นการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยาของผู้ป่วยที่มีอาการปวดเนื่องจากโรคมะเร็ง |
abstract: The objective of this special project were to analyze the pain problem in cancer patients in order to plan and choose the appropriate analgesics for individual patients. Monitoring the therapeutic outcome to enhance the efficiency of therapy and improve the quality of patient of life also performed. The study was carried out by reviewing the medical records for drug used and interviewing the patients and caregivers who had the appointment with the physicians at the Pain clinic of Siriraj hospital from July to August 2008. The pharmaceutical care was taken in twenty cancer patients. Eight patients were diagnosed of nociceptive pain. Only one patient had neuropathic pain while eleven patients had both nociceptive and neuropathic pain . Thirty-six drug related problems (DRPs) were identified. The most common DRPs were adverse drug relation (17/36) e.g. constipation from opioid analgesics followed by improper drug selection (11/36) e.g. prescribing drugs with the same mechanism (strong and weak µ agonists). The other problems were drug of patient use (8/36) e.g. patient took MST® as a recue drug. Forty-nine interventions had been consulted with physicians and forty-four of these interventions were accepted. Seventeen interventions had been done with patients and all of them were accepted and the pharmacist instructions were applied. This study showed that pharmacists had an important role in participating with medical team for drug therapy planning as well as educating and giving recommendations about drugs to the patients and caregivers in order to improve therapeutic efficiency and prevent or solve the problem of drug used in patients with carrier pain. |
. |