ความรู้ ทัศนคติ และการนำงานเภสัชกรรมคลินิกไปปฏิบัติของเภสัชกรโรงพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข |
โดย: เกรียงศักดิ์ ปิ่นสุวรรณคุปต์,นรีนุช คำประเสริฐ ปีการศึกษา: 2537 กลุ่มที่: 52 อาจารย์ที่ปรึกษา: ปราณี ใจอาจ , เฉลิมศรี ภุมมางกูร ภาควิชา: ภาควิชาสรีรวิทยา Keyword: , |
บทคัดย่อ: โครงการพิเศษนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ ทัศนคติ และการนำเภสัชกรรมคลินิกไปปฎิบัติของเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข และเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอบวิชาเภสัชกรรมคลินิก การศึกษาแบ่งเป็ฯ 2 ขั้นตอนคือ ส่งแบบสอบถามทดสอบโดยสุ่มตัวอย่างเภสับกรโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ทั่วทุกภาคของประเทศจำนวน 37 ชุด ตอบแบบสอบถามทดสอบจำนวน 130 ชุด ตอบแบบสอบถามกลับจำนวน 96 ชุด คิดเป็นร้อยละ 74 ผลการศึกษาพบว่า จำนวนโรงพยาบาลที่เริ่มมีงานเภสัชกรรมคลินิกคิดเป็นร้อยละ55 และร้อยละ45 ยังไม่เริ่มปฎิบัติงานเภสัชกรรมคลินิก ทัศนคติของเภสัชกรต่องานเภสัชกรรมคลินิกที่เห็นว่ามีประโยชน์และสามารถนำไปปฏบัติงานได้จริงคิดเป็นร้อยละ53 ร้อยละ36 เห็นว่ามีประโยชน์แต่ไม่สามรถนำไปปฏิบัติได้จริง และไม่มีเภสัชกรที่ไม่เห็นประโยชน์ของงานเภสัชกรรมคลินิก ประโยชน์ของงานเภสัชกรรมคลินิกที่เภสัชกรแสดงทัศนคติเรียงจากมากไปน้อยคือ ทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ดี ถูกต้องเหมาะสม และการใช้ยาอย่างมีประสิทธิภาพ ทราบถึงผลปัญหาอาการข้างเคียงของยาที่มีต่อผู้ป่วย และการใช้ยาอย่างมีประสิทธิภาพ ทราบถึงผล ปัญหา อาการข้างเรียงของยาที่มีต่อผู้ป่วย แบะเภสัชกรได้สัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง บทบาทของเภสัชกรได้รับการยอมรับมากขึ้น เป็นการเผยแพร่และให้ความรู้ทางด้านยาอย่างถูกต้องแก่ประชาชน เป็นบทบาทหน้าที่ในวิชาชีพของเภสัชกรอย่างแท้จริง ทัศนคติของเภสัชกรต่อปํญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานเภสัชกรรมคลินิกเหมือนกับปัญหาจากการดำเนินงานเภสัชกรรมคลินิกจริงๆ กล่าวคือ เภสัชกรต้องรับผิดชอบงานอื่นมากอยู่แล้ว จึงปฏิบัติงานเภสัชกรรมคลินิกได้ไม่เต็มที่ จำนวนเภสัชกรไม่เพียงพอ ขาดปัจจัยที่สนับสนุนความพร้อมเช่น สถานที่ งบผระมาณ วัสด และอื่นๆ เภสัชกรขาดความเชื่อมั่นในตนเองทั้งทางด้านวิชาการและการเข้าถึงผู้ป่วย จำนวนผู้ช่วยเภสัชกร เจ้าหน้าที่ พยาบาลในฝ่ายเภสัชกรรมไม่เพียงพอ เภสัชกรไม่มีโอกาสเข้ารับการอบรมศึกษาต่อเนื่องทางด้ายยเภสัชกรรมคลินิก สำหรับเภสัชกรโรงพยาบาลที่ยังไม่เริ่มปฎิบัติงานเภสัชกรรมคลินิกต้องการการสับสนินทางด้านวิชาการ การเข้ารับการอบรมทางเภสัชกรรมคลินิกโดยตรงเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้มีมากขึ้น เพื่มกรอบอัตราเภสัชกรโรงพยาบาลการสนับสนุนทางด้านสถานที่ งบประมาณ วัสดุอละอื่นๆ สรุปผลหารศึกษษ ควรที่จะหาแนวทางในการแก้ไขปํยหาและอุปสรรคที่เกิดจากการดำเนินงานเภสัชกรรมคลินิกของเภสัชกรโรงพยาบาล คือ การะตุ้นให้เภสัชกรโรงพยาบาลตระหนักถึงบทบาทหน้าที่สำคัญในส่วนนี้ เพื่อจะได้ชี้นำสังคมในด้านการบริบาลทางเภสัชกรรม(Pharmaceutical care) อีกทั้งเสนอต่อสถาบันการศึกษาเภสัชศาสตร์ในการเตรียมตัวนักศึกษาให้มีคุณสมบัติพร้อมในด้านนี้ |
abstract: Studies on knowledge, attitude and implementation of clinical pharmacy practice among the hospital pharmacists under the Ministry of Public Health were performed. 77 % pre-tested questionnaires randomly distributed to hospital pharmacists were sent back, then the improved questionnaires were distributed to 130 hospital pharmacists; and 74 % were responded. The results showed that more than half of them ( 55 % ) started to practise the clinical pharmacy in their hospitals. The attitude of pharmacists on the advantage and implementation of clinical pharmacy practice is 53 % with the most importance that patients should have treated with appropriated medications. It was also noted that more acceptance of the role of pharmacists by the publics as well as the health care personnels. The problems coming from implementation of clinical pharmacy practice were the shortage of personnels in pharmacy department, place, budget, equipments, etc. For those pharmacists who did not start to practise in clinical pharmacy needed more academic training to make them more confidence. In conclusion, pharmacists should be aware of the responsibilities for societal health care and started to implement the clinical pharmacy practice leading to better quality of life. It was also suggested the institutional curriculum be revised on the basis of more patient oreinted and provided more training courses for hospital pharmacists to achieve this goal. |
. |