การศึกษาอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ telbivudine ในผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสตับอักเสบชนิดบี ณ โรงพยาบาลศิริราช

โดย: นิติพจน์ พุ่มจันทร์, พลอยลาภ เลิศวิภาภัทร    ปีการศึกษา: 2552    กลุ่มที่: 51

อาจารย์ที่ปรึกษา: ปราโมทย์ ตระกูลเพียรกิจ    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: อาการไม่พึงประสงค์, telbivudine, ตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสตับอักเสบชนิดบี, โรงพยาบาลศิริราช, Adverse drug reaction, Telbivudine, Chronic hepatitis B infection, Siriraj Hospital
บทคัดย่อ:
Telbivudine เป็นยาต้านไวรัสใช้รักษาผู้ป่วยตับอักเสบ บี เรื้อรัง เนื่องจากเป็นยาใหม่ความปลอดภัยของการใช้ยา telbivudine จึงจำเป็นต้องเฝ้าระวัง ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ คือ การค้นหาความถี่และลักษณะของอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา telbivudine ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยา telbivudine ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ถึง 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552 โดยการทบทวนเวชระเบียนและสัมภาษณ์ผู้ป่วยเพื่อค้นหาอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นภายหลังได้รับยา telbivudine และทำการประเมินความน่าจะเป็นด้วย Naranjo’s algorithm แบ่งลักษณะอาการไม่พึงประสงค์เป็นกลุ่มอวัยวะที่ผิดปกติ, ผลลัพธ์ที่เกิดกับผู้ป่วย จากการศึกษา พบว่าผู้ป่วยที่สามารถทบทวนเวชระเบียนและได้สัมภาษณ์ จำนวน 73 คน โดย 43 คน เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 52.5 ± 10.5 ปี ผู้ป่วย 50 คน (ร้อยละ 68.5) เกิดอาการไม่พึงประสงค์อย่างน้อย 1 เหตุการณ์ โดยมีอาการไม่พึงประสงค์รวม 80 เหตุการณ์ สำหรับอาการส่วนใหญ่เป็นความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อ 45 เหตุการณ์ (ร้อยละ 56.3), ระบบประสาท 13 เหตุการณ์ (ร้อยละ 16.3) และระบบทางเดินอาหาร 11 เหตุการณ์ (ร้อยละ 13.8) ความน่าจะเป็นของอาการไม่พึงประสงค์ส่วนใหญ่ 72 เหตุการณ์ (ร้อยละ 90.0) อยู่ในระดับ“อาจจะใช่” และ 8 เหตุการณ์ (ร้อยละ 10.0) อยู่ในระดับ“น่าจะใช่” นอกจากนี้ พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ยังมีอาการอยู่ 59 เหตุการณ์ (ร้อยละ 73.8) ไม่สามารถติดตามผลได้จำนวน 10 เหตุการณ์ (ร้อยละ 12.5) และพบผู้ป่วย 11 คน (ร้อยละ 15.1) มีอาการปวดกล้ามเนื้อร่วมกับระดับ creatine phosphokinase เพิ่มขึ้นโดยมีผู้ป่วยที่ต้องหยุดยา 2 คน ความถี่ของอาการไม่พึงประสงค์จากการศึกษานี้สูงกว่าการศึกษาที่ผ่านมาและพบว่ายานี้ยังไม่เคยมีการรายงานตามระบบรายงานโดยสมัครใจของโรงพยาบาลศิริราชมาก่อน
abstract:
Telbivudine is the newest antiviral agent treatment of chronic hepatitis B virus. Since it is recently launched, safety profile must be monitored. The objective of this study was to determine the frequency and characteristics of adverse drug reaction (ADR) that may relate to telbivudine in chronic hepatitis B patients who have been taking telbivudine at Siriraj Hospital between October 1, 2007 to August 31, 2009. Chart review and direct patient interview was performed, the event was then assessed by using Naranjo’s algorithm. ADR was categorized by organ system and patient outcome. Results: There were 73 patients in the study, 43 were male with mean age of 52.5 + 10.5 years old. Fifty patients (68.5 %) were suffered from at least one ADR with total of 80 ADR events. The ADR which is categorized by organ system as follow; musculoskeletal system, central nervous system and gastrointestinal system in 45 (56.3%), 13(16.3%), 11 (13.8%), respectively. The probability of ADR were assessed as possible and probable by 72 (90.0%) and 8(10.0%) events, respectively. Fifty-nine (73.8%) ADR events have not resolved and ten (12.5%) events were not able to monitor patient’s outcome. In additions, eleven patients (15.1%) had muscle pain with elevated creatine phosphokinase (CPK), two of whom had to discontinue telbivudine. The frequency of telbivudine-related adverse events in the present study seems to be high. It was found that the telbivudine-related adverse effect has not reported by spontaneous reporting system at Siriraj Hospital.
.