การประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์ของมาตรการโดยเภสัชกรที่เกี่ยวข้องกับอาการไม่พึงประสงค์จากยาที่สามารถป้องกันได้ สำหรับผู้ป่วยที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาลของประเทศไทย

โดย: นายณัฐพงศ์ คุณรัตนาภรณ์,นายธีระพงศ์ อร่ามเรือง    ปีการศึกษา: 2560    กลุ่มที่: 50

อาจารย์ที่ปรึกษา: อุษา ฉายเกล็ดแก้ว , จิระพรรณ จิตติคุณ , ปราโมทย์ ตระกูลเพียรกิจ , เสาวลักษณ์ ดุรงคราวี    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: เภสัชกร, อาการไม่พึงประสงค์, Trigger tool, Decision tree model, Cost-utility analysis, Economic evaluation, Pharmacist, Adverse drug reaction, Trigger tool, Decision tree model, Cost-utility analysis, Economic evaluation
บทคัดย่อ:
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์ของมาตรการโดยมีเภสัชกรเปรียบเทียบกับมาตรการปัจจุบัน (usual care) ที่ไม่มีเภสัชกรทำหน้าที่ป้องกันอาการไม่พึงประสงค์จากยาที่สามารถป้องกันได้ สำหรับผู้ป่วยที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาลของประเทศไทยในมุมมองผู้ให้บริการ โดยใช้แบบจำลอง decision tree model ในกรอบเวลา 1 ปี ตัวแปรที่ใช้ในแบบจำลองนำมาจากการทบทวนวรรณกรรม ผลการศึกษาแสดงในรูปของอัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่มและการวิเคราะห์ความไวแบบทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า ถ้าพิจารณาระดับความเต็มใจที่จะจ่ายเท่ากับ 160,000 บาทต่อปีสุขภาวะ มาตรการโดยเภสัชกรมีความคุ้มค่ากว่ามาตรการปัจจุบัน เนื่องจากมีค่าอัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่มเป็นค่าติดลบ(dominant) กล่าวคือ สามารถช่วยลดต้นทุนและเพิ่มปีสุขภาวะของผู้ป่วยที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาลในประเทศไทย
abstract:
This study aimed to evaluate the cost-utility analysis of pharmacist interventions compared with usual care related to preventable adverse drug reactions for hospitalized patient in Thailand based on a health care provider perspective. Decision tree model was used to estimate the cost-utility of pharmacist interventions during one year period. Input parameters were obtained from literature review. Incremental cost-effectiveness ratio (ICER) was calculated. One-way sensitivity analysis was performed. The result demonstrated that at the willingness to pay (WTP) threshold of 160,000 baht/quality-adjusted life year (QALY) in Thailand, pharmacist intervention was more cost-effective than usual care due to the negative ICER result (dominant) meaning that pharmacist intervention could help reduce costs and increase QALY for hospitalized patients in Thailand
.