ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสกัดจากผงแห้งของเมล็ดหมามุ่ย

โดย: นางสาวพิมวดี รังษีพลาสวัสดิ์, นางสาวเพียงระวี เริงสิริสันติวงศ์    ปีการศึกษา: 2559    กลุ่มที่: 5

อาจารย์ที่ปรึกษา: วิเชษฐ์ ลีลามานิตย์    ภาควิชา: ภาควิชาชีวเคมี

Keyword: หมามุ่ย, ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย, ยับยั้งเชื้อรา, ต้านอนุมูลอิสระ, สารประกอบฟีนอล, ฟลาโวนอยด์, Mucuna pruriens, Antibacterial, Antifungal, Antioxidant, Phenolic compounds, Flavonoids
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้จัดทาขึ้นเพื่อศึกษาฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณสารประกอบฟีนอลรวม และปริมาณฟลาโวนอยด์ของสารสกัดจากผงแห้งของเมล็ดหมามุ่ย ด้วยตัวทาละลาย petroleum ether, dichloromethane และ ethanol การทดสอบฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา ทาการทดสอบทางจุลชีววิทยา ด้วยวิธี agar-well diffusion ซึ่งทาการศึกษาฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย แกรมบวก ได้แก่ Staphylococcus aureus, Streptococcus pyogenes, Bacillus subtilis และเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ ได้แก่ Escherichia coli และ Salmonella typhi และศึกษาฤทธิ์ในการต้านเชื้อรา Aspergillus niger TISTR 3056, Aspergillus parasiticus TISTR 3276, Aspergillus flavus TISTR 3366, Cladosporium cladosporioides TISTR 3285,และ Penicillium siamensis TISTR 3355 จากการทดสอบด้วยสารสกัด ทั้ง 3 ชนิด พบว่า สารสกัดเอทานอลให้ผลยับยั้งแบคทีเรียสองชนิดได้แก่ Staphylococcus aureus และ Bacillus subtilis ส่วนฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ ทาการศึกษาด้วยวิธี DPPH assay จากสารสกัดในส่วนของ petroleum ether, dichloromethane และ ethanol ได้ค่าเท่ากับ 0.02 ± 0.00, 0.18 ± 0.02, 0.95 ± 0.02 mM eq trolox / g sample และ 0.02, 0.17 ± 0.02, 0.92 ± 0.02 mM eq ascorbic acid / g sample ตามลาดับ และได้ค่า IC50 จากสารสกัดในส่วนของ dichloromethane และ ethanol เท่ากับ 5.07 ± 0.14 และ 0.65 ± 0.01 mg/ml ตามลาดับ ปริมาณสารประกอบฟีนอลรวมได้ 3.46 ± 0.24, 13.67 ± 0.60 และ 88.13 ± 0.63 (mg GAE /g extract) ตามลาดับ และปริมาณฟลาโวนอยด์ได้ 43.55 ± 1.36, 69.82 ± 1.82, 104.42 ± 1.57 (mg RE /g extract) ตามลาดับ ซึ่งฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระมีแนวโน้มสอดคล้องกับปริมาณฟีนอล และฟลาโวนอยด์รวม ที่สามารถพบได้ในสารสกัดเมล็ดหมามุ่ยทั้งสามชนิด โดยสารสกัดเอทานอลมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ DPPH สูงที่สุด
abstract:
The aim of this special project is to investigate the antibacterial, antifungal, and antioxidant activities, total phenolic and flavonoid contents of extract from Mucuna pruriens dry seed powders by use 3 different solvents; petroleum ether, dichloromethane, and ethanol. Agar-well diffusion method was performed to investigate the antibacterial and antifungal activities of extracts. For antibacterial activities, we performed on gram-positive bacteria (Staphylococcus aureus, Streptococcus pyogenes and Bacillus subtilis) and gram-negative bacteria (Escherichia coli and Salmonella typhi). For antifungal activities, we performed on Aspergillus niger TISTR 3056, Aspergillus parasiticus TISTR 3276, Aspergillus flavus TISTR 3366, Cladosprium cladosporioides TISTR 3285 and Penicillium siamensis TISTR 3355. The results indicated that ethanol extracts show the antibacterial and antifungal activities against Staphylococcus aureus, Bacillus subtilis และ Penicillium siamensis TISTR 3355. DPPH assay was performed to investigate the antioxidant activities of extracts. The IC50 values of petroleum extract, dichloromethane extract and ethanol extract were 0.02, 0.18 ± 0.02, 0.95 ± 0.02 μg/ml calculate compare to standard trolox solution and 0.02, 0.17 ± 0.02, 0.92 ± 0.02 μg/ml calculate compare to standard vitamin C solution, respectively. Total phenolic contents were 3.46 ± 0.24, 13.67 ± 0.60 and 88.13 ± 0.63 GAE (mg/g extract) and flavonoid contents were 43.55 ± 1.36, 69.82 ± 1.82, 104.42 ± 1.57 RE (mg/g extract). In conclusion from all three extracts, the ethanol extract gives the best result in total phenolic contents, which is related to its antioxidant activities.
.