การพัฒนาสูตรตำรับน้ำยาบ้วนปาก aminocaproic acid เพื่อใช้ในการหยุดเลือดออกในช่องปาก

โดย: พณัฐภรณ์ เอี่ยมศิริ, พรวิมล จิตรัตนโสภณ    ปีการศึกษา: 2549    กลุ่มที่: 5

อาจารย์ที่ปรึกษา: สุรกิจ นาฑีสุวรรณ , ดวงดาว ฉันทศาสตร์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: อะมิโนคาโปรอิก แอซิด, น้ำยาบ้วนปาก, การหยุดเลือดออกในช่องปาก, aminocaproic acid, mouthwash solution, hemostasis in oral cavity
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสูตรตำรับน้ำยาบ้วนปาก aminocaproic acid เพื่อใช้ในการหยุดเลือดออกในช่องปาก จากการทำหัตถการชนิด invasive ในผู้ป่วยโรคหัวใจและ หลอดเลือดที่รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด การศึกษานี้แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนได้แก่ การ พัฒนาสูตรตำรับและการทดสอบความคงตัวของสูตรตำรับ การพัฒนาสูตรตำรับน้ำยาบ้วนปาก เริ่มจากการเตรียมสารละลายพื้นที่มีคุณสมบัติทางกายภาพที่ดีได้แก่ การมีค่าความเป็นกรดด่าง ของตำรับอยู่ระหว่าง 5.0 - 9.5 และสารละลายพื้นสามารถละลายตัวยา aminocaproic acid ให้ ได้สารละลายใสที่ความเข้มข้น 5% จากการพัฒนาสูตรตำรับพบว่า มี 3 สูตรตำรับที่แสดง คุณสมบัติทางกายภาพที่ดี จึงนำสูตรตำรับดังกล่าวมา ศึกษาความคงตัวทางเคมีโดยการวิเคราะห์ หาปริมาณ aminocaproic acid ในสูตรตำรับที่เวลา 0 วัน 7 วัน 14 วัน และ 30 วัน ผลการวิจัย พบว่าทั้ง 3 สูตรตำรับมีความคงตัวดีภายในเวลา 14 วัน โดยมีปริมาณยาอยู่ในช่วง 95.0%- 115.0% โดยสรุปตำรับน้ำยาบ้วนปากที่เตรียมได้จากงานวิจัยนี้มีความเป็นไปได้ที่จะนำไปพัฒนา ต่อไป โดยแนวทางหลักในการพัฒนาคือ การเพิ่มความคงตัวทางเคมีของตำรับ ซึ่งอาจเป็น ประโยชน์ต่อการนำสูตรตำรับดังกล่าวไปใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดที่รับประทานยาต้าน การแข็งตัวของเลือดในทางทันตกรรมชนิด invasive ต่อไป
abstract:
This project was aimed to develop the formulation of aminocaproic acid mouthwash solution for hemostasis in oral cavity for invasive dental procedure among patients requiring long-term anti-coagulation therapy. There are two steps in this study including formulation of 5% aminocaproic acid solution and evaluation of its stability. Initially, base solution was first developed to meet optimal physical properties including having a pH of 5.0 – 9.5 and capacity to dissolve adequate amount of aminocaproic acid. From the initial phase, 3 formulations of aminocaproic acid mouthwash solution showed adequate physical properties and therefore were further evaluated for their chemical stability. The stability evaluation phase was performed using quantitative analysis at 0, 7, 14 and 30 days after being freshly prepared. The results showed that all 3 preparations were stable within 14 days since the quantity of aminocaproic acid were maintained between 95.0%-115.0% during this period. In conclusion, the developed formulations of aminocaproic acid mouthwash solution have a potential for further development with the focus on improving its long-term chemical stability. With improved stability, the formulation may be of benefit in promoting hemostasis from invasive dental procedure in patients requiring long-term anticoagulation therapy.
.