หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตโรงงานเครื่องสำอาง |
โดย: จักรพงษ์ ลิ่มพงศ์พันธุ์,อรรณพ หิรัญดิษฐ์ ปีการศึกษา: 2537 กลุ่มที่: 5 อาจารย์ที่ปรึกษา: ปลื้มจิตต์ โรจนพันธุ์ , พรรณวิภา กฤษฎาพงษ์ ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม Keyword: , |
บทคัดย่อ: ปัจจุบันนี้ภาครัฐบาลนำโดยกองควบคุมเครื่องสำอาง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้จัดให้มี หลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดีในโรงงานผลิตเครื่องสำอาง เพื่อยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องสำอางในประเทศไทยให้มีคุณภาพและมาตรฐานให้ดีขึ้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้บริโภคสินค้าที่มีมาตรฐานและปลอดภัย โครงการนี้ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับความต้องการและความเป็นไปได้ของการให้มี GMP ในโรงงานผลิตเครื่องสำอางในประเทศไทย โดยดำเนินการร่วมกับกองควบคุมเค0รื่องสำอาง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เริ่มจากการรวบรวมข้อมูล GMP ของประเทศต่างๆ เช่น CTFA, GMP ของประเทศเยอรมัน, GMP ของประเทศญี่ปุ่นและประเทศอินโดนีเซีย โดยถือเป็นตัวแทนของแต่ละภูมิภาคของโลก ทั้งนี้ได้รวบรวม GMP ของประเทศไทย ที่เพิ่งจัดทำไว้ด้วย ซึ่งในขั้นต้นจะใช้เป็นเพียงแนวทางแนะนำการพัฒนาการผลิตของโรงงานให้ได้มาตรฐานมากยิ่งขึ้น ในส่วนของการศึกษาความต้องการและความเป็นไปได้นั้น ได้จัดทำในรูปของแบบสอบถามความคิดเห็นและความพร้อมเกี่ยวกับการมี GMP ส่งไปตามโรงงาน จำนวน 130 โรงงาน ได้ข้อมูลตอบกลับมา 30 ฉบับ ในจำนวน 130 โรงงานนี้ได้ออกสัมภาษณ์ด้วยอีกจำนวน 21โรงงาน รวมทั้งสิ้นได้รับ 51 ฉบับ ผลที่ได้พบว่าโรงงานที่ตอบกลับมาส่วนใหญ่เป็นโรงงานขนาดใหญ่ผลิตสินค้าหลายชนิดที่ได้รับความนิยมในตลาด มีความพร้อมและศักยภาพที่จะมี GMP ส่วนโรงงานขนาดกลางยังอยู่ในช่วงของการตัดสินใจและการปรับตัวเพื่อเตรียมความพร้อมที่จะมี GMP สำหรับโรงงานขนาดเล็กนั้นไม่พร้อมที่จะมี GMP ด้วยเหตุนี้จึงเป็นหน้าที่ของภาครัฐที่จะต้องชักจูงและสนับสนุนให้โรงงานที่ยังไม่มีความพร้อมจะมี GMP เล็งเห็นความสำคัญของการมี GMP และปฏิบัติตามเพื่อความปลอดภัยและประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภค |
abstract: Nowadays , Food and Drug Administration (FDA)by Cosmetic control division provide Good Manufacturing Practices (GMP) for cosmetics to produce them for the better standards and the safety of the consumers. This project is to study the needs and the possibility for usage of GMP in the cosmetic manufactures in Thailand with the collaboration of Cosmetic control division FDA. The first part of this project is the gathering the information of GMP from various countries, for examples , Germany , USA(CTFA) , Japan and Indonesia which are the representative of each part of the world. In Thailand , GMPguideline has been set out by the FDA for the factory to improve their productions and it is voluntary, not regulation. For the study of the needs and the possibility for usage of GMP, 130 questionaires were sent out with 30questionaires returned. A part from this, the pharmacists or production managers of21factories were interviewed.The result , showed that the large factories are in the status to be able to have GMP , medium factories are deciding and preparing themselves to have it but small factories cannot afford to have GMP . Thus the government have to pursuade and support all factories to use GMP for the safety and the benefit of the consumers. |
. |