อุบัติการณ์ของเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังการใช้ทาโครลิมุสรูปแบบรับประทานวันละครั้งและทาโครลิมุสรูปแบบรับประทานวันละสองครั้งในผู้ป่วยปลูกถ่ายไต

โดย: นางสาวณิจาภรณ์ หงษ์ษา,นางสาวพรนัชชา พงษ์ทนานนท์กุล    ปีการศึกษา: 2559    กลุ่มที่: 49

อาจารย์ที่ปรึกษา: ศยามล สุขขา , ธนรัตน์ สรวลเสน่ห์ , พันลภ วิวัฒนาธรรม , พรรษา เอี่ยมระหงษ์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: อุบัติการณ์, เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์, ทาโครลิมุส, รูปแบบรับประทานวันละครั้ง, รูปแบบรับประทานวันละสองครั้ง, adverse events, incidence, once-daily formulation, tacrolimus, twice-daily formulation
บทคัดย่อ:
งานวิจัยนี้จัดทาขึ้นเพื่อศึกษาชนิดและอุบัติการณ์ของเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์และเปรียบเทียบประสิทธิภาพจากการใช้ทาโครลิมุสรูปแบบรับประทานวันละครั้ง (tacrolimus once-daily formulation;TAC-OD) และทาโครลิมุสรูปแบบรับประทานวันละสองครั้ง (tacrolimus twice-dailyformulation;TAC-BID)งานวิจัยนี้เก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยปลูกถ่ายไตในโรงพยาบาลรามาธิบดีระหว่างเดือนมกราคมพ.ศ. 2556 ถึงเดือนธันวาคมพ.ศ. 2558 โดยติดตามผู้ป่วยแต่ละคนนาน 1 ปี สามารถรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยได้ทั้งสิ้น 235 คนแบ่งเป็นผู้ป่วยที่ได้รับ TAC-OD 18คนและ TAC-BID 217 คนพบว่าอุบัติการณ์ของเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่พบเยอะที่สุดได้แก่ภาวะกรดยูริกในเลือดสูงทั้งในกลุ่ม TAC-OD และ TAC-BID (ร้อยละ70.59 และ 81.91ตามลาดับ)ภาวะเบาหวานที่เกิดขึ้นใหม่ภายหลังการปลูกถ่ายไตพบเฉพาะในกลุ่ม TAC-BID ร้อยละ5.95นอกจากนี้ข้อมูลด้านประสิทธิภาพพบว่ามีการเกิด biopsy-proven acute rejection(BPAR) ร้อยละ 10 เฉพาะในกลุ่ม TAC-BID ด้านการทางานของไตพบว่าระดับครีเอตินินในเลือดและ eGFR นั้น กลุ่ม TAC-BID มีแนวโน้มของระดับครีเอตินินในเลือดเพิ่มขึ้นและมี eGFR ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่ม TAC-OD ดังนั้นกลุ่ม TAC-OD พบอุบัติการณ์เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ทั้งที่พบบ่อยและรุนแรงน้อยกว่ากลุ่ม TAC-BID อีกทั้งมีประสิทธิภาพในการป้องกันการปฏิเสธไตและผู้ป่วยปลูกถ่ายไตมีแนวโน้มการทางานของไตที่ดีขึ้นเมื่อเทียบจากข้อมูลเริ่มต้น
abstract:
The aim of this survey study was to assess the incidence of adverse events and clinical efficacy oftacrolimus once-daily formulation (TAC-OD) and twice-daily formulation (TAC-BID) in kidney transplant patients. We reviewed the electronic medical record to collect the data from January 2013 to December 2015. There were 235 patients; 18 patients for TAC-OD and 217 patients for TAC-BID. At one year follow-up period, hyperuricemia was the most adverse event in bothtacrolimus formulation groups (TAC-OD70.59% and TAC-BID 81.91%). Cardiovascular events includingnew onset diabetes mellitus after transplantation (NODAT) was only found in TAC-BID (5.95%). Efficacy of tacrolimus for preventing acute rejection was assessed by biopsy-proven acute rejection (BPAR) and renal function. The 12-month BPAR event rate was 10% of TAC-BID. Renal function was assessed by using serum creatinine and estimated glomerular filtration rate (eGFR). Mean serum creatinine was higher in TAC-BID than TAC-OD. Moreover, eGFRwas decreased in TAC-BID group. Our retrospective study found that TAC-OD provided better safety and efficacy profile than TAC-BID at one-year follow up period in kidney transplant patients.
.