การประเมินความเหมาะสมของการสั่งใช้ยาต้าน COX-2 ร่วมกับยาต้าน Proton Pump

โดย: ศยามล เจนพจนสุนทร, พนมลักษณ์ ผ่านทอง    ปีการศึกษา: 2554    กลุ่มที่: 48

อาจารย์ที่ปรึกษา: ธนรัตน์ สรวลเสน่ห์ , บุษบา จินดาวิจักษณ์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: การประเมินความเหมาะสมการใช้ยา, ยาต้าน COX-2, ยาต้าน proton pump, Drug use evaluation, COX-2 inhibitors, Proton pump inhibitors
บทคัดย่อ:
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบข้อมูลพื้นฐานและประเมินความเหมาะสมของการสั่งใช้ยาต้าน COX-2 ร่วมกับยาต้าน proton pump ในผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสงฆ์ โดยทาการประเมินความเหมาะสมการใช้ยาแบบย้อนหลัง ในผู้ป่วยที่ได้รับยาต้าน COX-2 ร่วมกับยาต้าน proton pump ในใบสั่งยาจากแพทย์คนเดียวกัน ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคมพ.ศ. 2554 ขั้นตอนการศึกษาประกอบด้วยการสร้างเกณฑ์สาหรับประเมินความเหมาะสมของการใช้ยาที่ได้รับการรับรองจากโรงพยาบาลสงฆ์ ทาการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ผล และสรุปผลที่ได้เปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กาหนด จากการประเมินความเหมาะสมของการสั่งใช้ยาต้าน COX-2 ร่วมกับยาต้าน proton pump ในผู้ป่วยทั้งหมด 35 คน พบว่ามีผู้ป่วยร้อยละ 80 เป็นพระสงฆ์ โดยร้อยละ 54 เป็นผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 65 ปี, เหตุผลที่มีการสั่งจ่ายยาต้าน COX-2 ร่วมกับยาต้าน proton pump ใช้เพื่อการรักษาโรคข้อเสื่อม (ร้อยละ 34) โดยยาที่มีการสั่งใช้มากที่สุด คือ celecoxib คู่กับ omeprazole (ร้อยละ43) รองลงมา คือ celecoxib คู่กับ pantoprazole, etoricoxib คู่กับ pantoprazole และ etoricoxib คู่กับ omeprazole (ร้อยละ 31, ร้อยละ 17 และร้อยละ 9 ตามลาดับ) จากการประเมินความเหมาะสมของการใช้ยาดังกล่าวร่วมกัน พบว่า ร้อยละ14 ใช้ยาเป็นไปตามเกณฑ์ประเมินความเหมาะสมในด้านข้อบ่งใช้ โดยร้อยละ 20 ของผู้ที่ผ่านเกณฑ์การประเมินความเหมาะสมในด้านข้อบ่งใช้ มีความเหมาะสมในด้านขนาดยาและวิธีใช้ คิดเป็นความเหมาะสมของการใช้ยาในทุกด้านเป็นร้อยละ 2.8 ผลการศึกษาสรุปว่า การใช้ยาต้าน COX-2 คู่กับ ยาต้าน proton pump ในโรงพยาบาลสงฆ์ มีความเหมาะสมน้อยมาก จึงควรศึกษาเพิ่มเติม เพื่อหาปัจจัยที่เป็นสาเหตุ และหาวิธีการแก้ไขต่อไป
abstract:
The objectives of this study were to determine the basis of prescriptions and to evaluate the appropriate use of the combination of cyclo-oxygenase-2 (COX-2) inhibitors and proton-pump inhibitors (PPIs). This drug use evaluation (DUE) study was conducted at the Out-patient Department of the Priest Hospital. Prescriptions of COX-2 inhibitors and PPIs prescribed by the same physician from July 1, 2010 to July 31, 2011 were retrospectively reviewed. Data were collected and compared to DUE criteria developed by the investigators and approved from the Priest Hospital committee. In total, 35 patients were recruited and data were extracted and analyzed accordingly. Most of patients were priest (80%) and the age less than or equal to 65 year-old (54%). Most of prescriptions were indicated for osteoarthritis (34%). The combination that widely prescribed was celecoxib and omeprazole (43%) and the others were celecoxib and pantoprazole, etoricoxib and pantoprazole, and etoricoxib and omeprazole (31%, 17%, and 9%, respectively). According to the DUE criteria, 14% met the indication of use, in which 20% met the criteria of dose and dosage regimen. Overall, 2.8% of prescriptions met all DUE criteria. It is concluded that there was little appropriateness of use of COX-2 inhibitors and PPIs. This awaits further study for the cause and the resolution.
.