ประเมินการใช้ G-CSF ในสถาบันมะเร็งแห่งชาติ

โดย: ศันสนีย์ นิติมณฑล,ศิวิมล บุญสุภา    ปีการศึกษา: 2545    กลุ่มที่: 47

อาจารย์ที่ปรึกษา: สุภาภรณ์ พงศกร , อาคม เชียรศิลป์ , อมรรัตน์ วิจิตรลีลา    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวิทยา

Keyword: การประเมินการใช้ยา, G-CSF, Drug use evaluation, G-CSF
บทคัดย่อ:
การกดไขกระดูกเป็นความเป็นพิษที่รุนแรงที่สุดที่เกิดจากการรักษาโรคมะเร็งด้วยเคมีบำบัด เซลล์เม็ดเลือดขาวโดยเฉพาะแกรนูโลไซต์จะมีผลกระทบมากที่สุด จึงอาจทำให้มีความเสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น การลดปริมาณหรือเลื่อนเวลาการให้เคมีบำบัดออกไป จะมีผลให้ประสิทธิผลในการรักษาลดลง การใช้ยา colony stimulating factors (CSFs) จะกระตุ้นการเพิ่มจำนวนของเซลล์ไขกระดูก จึงช่วยลดอาการพิษที่เกิดขึ้นกับไขกระดูกได้ สามารถลดอุบัติการณ์ ความรุนแรง และระยะเวลาของการเกิด neutropenia จากการใช้เคมีบำบัด ด้วยเหตุนี้จึงมีการใช้ยานี้กันอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตามเนื่องจากยามีราคาค่อนข้างสูง ดังนั้นจึงควรพิจารณาการใช้ยาอย่างเหมาะสม วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อประเมินความเหมาะสมของการใช้ยา G-CSF ในสถาบันมะเร็งแห่งชาติ โดยประเมินแบบย้อนหลัง ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2544–กันยายน 2545 และทำการประเมินโดยใช้เกณฑ์มาตรฐานในการใช้ยา G-CSF ของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยศึกษาในผู้ป่วยจำนวน 32 ราย มีการใช้ยารวม 40 ครั้ง ผลการศึกษาพบว่า ความเหมาะสมในการใช้ยา G-CSF ตามข้อบ่งใช้คิดเป็นร้อยละ 87.50 ใช้ไม่เหมาะสมคิดเป็นร้อยละ 12.50 ผู้ป่วยที่ใช้ยาไม่เหมาะสมส่วนใหญ่พบว่าค่า ANC ต่ำกว่า 300 cell/mm3 แต่ไม่มีไข้ ซึ่งคิดว่าในทางปฏิบัติแล้วเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องสั่งใช้ยา เมื่อประเมินการใช้ยา G-CSF ตามขนาดการใช้ยาพบใช้ยาเหมาะสมคิดเป็นร้อยละ 72.50 ไม่เหมาะสมคิดเป็นร้อยละ 27.50 เมื่อคำนึงถึงความเหมาะสมในการใช้ยา G-CSF ตามระยะเวลาพบว่าระยะเวลาเหมาะสมคิดเป็นร้อยละ 5.00 ส่วนไม่เหมาะสมคิดเป็นร้อยละ 95.00 การที่ระยะเวลาการใช้ยาไม่เหมาะสมส่วนใหญ่ใช้ระยะเวลาสั้นเกินไป เนื่องจากเหตุผลทางเศรษฐกิจ ผลจากการศึกษานี้ช่วยเป็นข้อมูลเพื่อนำไปพัฒนาการใช้ยา G-CSF ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นต่อไป
abstract:
Myelosuppression is usually the most serious limiting toxicity of chemotherapy. White blood cells, especially granulocytes, are most significantly affected. Therefore, the risk of infection may be increased. Dosage reduction and delay of chemotherapy limit the efficacy of treatment. Colony stimulating factors (CSFs), stimulate myeloid proliferation, are now used to ameliorate bone marrow toxicity. They have been shown to reduce the incidence, magnitude, and duration of neutropenia following chemotherapy. These effects have led to the use of these agents for many diverse indications. However, according to the cost of these agents, their appropriate use should be taken into the consideration. The purpose of this study was to retrospectively evaluate the rational use of G-CSF in National Cancer Institute during October 2001-September 2002. G-CSF guideline of Medical services Department was used as standard criteria for evaluating G-CSF utilization. Thirty-two patients were obtained and a total of 40 courses of G-CSF treatment were taken. The results showed that the appropriate drug use based on indication criteria was 87.50%, whereas 12.50% was inappropriate. Most patients who were treated inappropriately have ANC less than 300 cell/mm3 without fever. The reason for using might be for the safety of patients. Based on dosage criteria, 72.50% of the G-CSF usage was appropriate, 27.50% was inappropriate. Concerning duration criteria, 5.00% of the G-CSF usage was appropriate. The reason for 95.00% of courses treated with insufficient duration was due primarily to economic reason. The result from this study may be used for improving the use of G-CSF.
.