การพัฒนาแนวปฏิบัติสำหรับการให้คำปรึกษาด้านผลิตภัณฑ์สมุนไพรของเภสัชกรชุมชน

โดย: นริศรา เทวพันธ์กุล,มีนา ผจงรักษ์    ปีการศึกษา: 2545    กลุ่มที่: 44

อาจารย์ที่ปรึกษา: สมภพ ประธานธุรารักษ์ , ปรีชา มนทกานติกุล , ศรันย์ กอสนาน    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์

Keyword: แนวปฏิบัติการให้คำปรึกษา, ผลิตภัณฑ์สมุนไพร, เภสัชกรชุมชน, counseling guidelines, herb drug, community pharmacist
บทคัดย่อ:
ปัจจุบันมีการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย ในการรักษาความเจ็บป่วยและใช้เพื่อบำรุงสุขภาพทั้งที่เหมาะสมและไม่เหมาะสม ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของเภสัชกรในการให้คำปรึกษาแนะนำและให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ประชาชน โครงการพิเศษนี้จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติสำหรับการให้คำปรึกษาด้านผลิตภัณฑ์สมุนไพรของเภสัชกรชุมชน โดยใช้แบบสอบถามสำรวจความคิดเห็นของเภสัชกรชุมชนจำนวน 110 คน ผลการสำรวจพบว่า เภสัชกรผู้ตอบแบบสอบถามมีอายุเฉลี่ย 34 ปี ร้อยละ 40 มีประสบการณ์การปฏิบัติงานเภสัชกรรมชุมชนระหว่าง 6 เดือน-2 ปี ร้อยละ 37.38 ของเภสัชกรให้คำปรึกษาแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรน้อยกว่า 10 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยได้ให้คำปรึกษาในเรื่องสรรพคุณและข้อบ่งใช้มากที่สุด (ร้อยละ 93.6) และให้คำปรึกษาในเรื่องการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยาแผนปัจจุบันกับผลิตภัณฑ์สมุนไพรน้อยที่สุด (ร้อยละ 21.2) ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนที่มาขอรับคำปรึกษาแนะนำในเรื่องดังกล่าวข้างต้น คือ ร้อยละ 93.6 และ ร้อยละ 16.4 ตามลำดับ สำหรับหัวข้ออื่น ๆ มีการให้คำปรึกษาอยู่ระหว่างร้อยละ 37.3 - 56.4 ได้แก่ ชนิดของผลิตภัณฑ์สมุนไพร ขนาดที่ใช้ในการรักษา การอ่านฉลากและเอกสารกำกับผลิตภัณฑ์ อาการไม่พึงประสงค์ การใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรผิดข้อบ่งใช้ และการโฆษณาที่เกินจริง ในด้านของปัญหาที่พบในการให้คำปรึกษาแนะนำมากที่สุดคือ ปัญหาจากการโฆษณา (ร้อยละ 93.64) ดังนั้นแนวปฏิบัติในการให้คำปรึกษาของเภสัชกรชุมชน ควรประกอบด้วยหัวข้อดังกล่าว โดยเน้นในส่วนที่เภสัชกรชุมชนต้องการ ซึ่งจะนำมาสู่การใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรอย่างถูกต้อง แก้ปัญหาจากการโฆษณาและปัญหาอื่นๆ ได้ นอกจากนี้การให้คำปรึกษาที่ถูกต้องตามหลักฐานทางวิชาการจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน และยังเป็นการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพอีกทางหนึ่งด้วย
abstract:
Recently, Herbal medicines are being used widely, for both therapy and nourishment in rational and irrational use. The pharmacist, therefore, has a great responsibility to provide counseling and educate the patients on herbal medicine. This special project is aimed at the development of counseling guidelines for community pharmacist on herbal medicine. The 110 questionnaires were administered to community pharmacists to express their views period. The result showed that, the average age of the community pharmacists was 34 years old and 40% of them had experience between 6 months to 2 years in the pharmacy. It was founded that 37.38% of them gave counseling to the clients less than 10 times per week. The counseling was mostly on indication of herbal medicine for 93.6% whereas less emphasis on herbal-drug interaction (21.2%). These results were corresponding to the clients’ need on herbal information (93.6 and 16.4 % respectively). The other topics were counseled between 37.3-56.4% i.e. types of herbal medicine, dosage regimen, labeling and leaflet, adverse effect, misuse and exaggerated advertisement. The pharmacist indicated the problem of herbal use mostly caused by the advertisement (93.64%). Therefore, the counseling guidelines for community pharmacists should consist of topics mentioned above, especially in pharmacist’s attitudes. This will lead to rational use of herbal medicine solving exaggerated advertisement and other relevant problems. Moreover, the pharmacists should strictly observe their evidence base so that the clients will be greatly benefited, at the same time the profession of the pharmacist will be highly upheld.
.