ฤทธิ์ต้านการอักเสบของฟ้าทลายโจรในหนูถีบจักร

โดย: นันทนา รัตนโสทร, พลช พลชาติ    ปีการศึกษา: 2549    กลุ่มที่: 43

อาจารย์ที่ปรึกษา: สุจิตรา ทองประดิษฐ์โชติ , ยุวดี วงษ์กระจ่าง    ภาควิชา: ภาควิชาสรีรวิทยา

Keyword: ฟ้าทะลายโจร, ฤทธิ์ต้านการอักเสบ, Andrographis paniculata, Anti-inflammatory activity
บทคัดย่อ:
ฟ้าทะลายโจร มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Andrographis paniculata Wall. Ex Nees เป็นพืชในวงศ์ Acanthaceae ที่มีการใช้กันมานานในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สำหรับรักษาอาการจากไข้หวัดและ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน มีรายงานการศึกษาพบว่าสารสกัดด้วยเอทานอลจากฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ต้าน การอักเสบ อย่างไรก็ตาม ผงใบฟ้าทะลายโจรที่มีจำหน่ายในท้องตลาดเป็นยาแผนโบราณ และอ้างว่ามีสรรพคุณ บรรเทาอาการเจ็บคอ โดยยังไม่มีข้อพิสูจน์ในทางวิทยาศาสตร์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพิสูจน์ฤทธิ์ต้านการอักเสบของผงใบฟ้าทะลายโจรที่ขายในท้องตลาด โดยเลือกใช้ โมเดลที่เหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบแบบเฉียบพลันในช่องท้องของหนูถีบจักร 2 โมเดล คือ กรดอะ ซิติกเหนี่ยวนำให้เกิดการเคลื่อนที่ของของเหลวออกนอกหลอดเลือด และ คาราจีแนนเหนี่ยวนำให้เกิดการ เคลื่อนที่ของเม็ดเลือดขาว การศึกษาฤทธิ์ยับยั้งการเคลื่อนที่ของของเหลวออกนอกหลอดเลือดของผงใบฟ้า ทะลายโจรทำโดยการฉีด 0.6% acetic acid (10 มล./กก.) เพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดการเคลื่อนที่ของของเหลวออก นอกหลอดเลือด จากนั้นวัดความเข้มข้นของสี Evans blue ที่สะสมในช่องท้อง ส่วนฤทธิ์ยับยั้งการเคลื่อนที่ของเม็ดเลือดขาว ทำโดยการฉีด 0.75% carrageenan (0.3 มล.) และนับปริมาณของเม็ดเลือดขาวในของเหลวที่ได้จากการล้างช่องท้อง และนำผลการทดลองที่ได้เปรียบเทียบกับยาต้านการอักเสบมาตรฐาน คือ อินโดเมทาซิน (10 มก./กก.)โดยผลการทดลองทั้ง 2 โมเดล พบว่าฟ้าทะลายโจรในขนาด 200, 400 และ 800 มก./กก. แสดงฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบแปรตามขนาดที่ใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) และในขนาดสูงสุด 800 มก./กก. มีฤทธิ์ใกล้เคียงกับสารมาตรฐานสำหรับลดการอักเสบ คือ อินโดเมทาซิน 10 มก./กก.ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า ผงใบฟ้าทะลายโจรที่จำหน่ายในท้องตลาดมีฤทธิ์ต้านการอักเสบสามารถใช้บรรเทาอาการเจ็บคอจากจากไข้หวัดและโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนได้
abstract:
Andrographis paniculata Wall. Ex Nees (Thai name : Fa-Tha-Lai-Jone) is a plant indigenous to South-east Asia. It has been used for treatment of common cold and upper respiratory tract (URI) infection. Ethanolic extract of A. paniculata has been demonstrated to possess antiinflammatory activity. However, powder prepared from dried leaves of A. paniculata available in the market are claimed to relieve sore throat without any scientific evidences. In this study, we tested whether the commercial product of A. paniculata (in the form of powder) possess anti-inflammatory activity by investigating the effect of powder against peritoneal inflammation in mice using two selected models, i.e. acetic acid-induced vascular permeability and carrageenan-induced leukocyte migration. The effect on acetic acid-induced vascular permeability was assessed by measuring the peritoneal accumulation of Evans blue dye after intraperitoneal injection of 0.6% acetic acid (10 ml/kg). Carrageenan-induced leukocyte migration was determined by measuring the total leukocyte counts in peritoneal lavage following intraperitoneal injection of 0.75% carrageenan (0.3 ml). The results were then compared with those obtained from a reference anti-inflammatory drug i.e. indomethacin (10 mg/kg). Oral administration of the powder (200, 400 and 800 mg/kg) prior to induction of inflammation clearly suppressed acetic acid-induced dye leakage in the peritoneal cavity in a dose dependent manner. Carrageenan-induced leukocyte migration was also significantly suppressed by the powder (P<0.001). In both tests, the highest dose 800 mg/kg exhibited a comparable activity as indomethacin. The results clearly reveal an anti-inflammatory activity of the commercial product of A. paniculata which is beneficial to patients with common cold and URI who are also suffered from sore throat.
.